พิษภัยแล้งในยุโรปทำให้นักการเมืองในอิตาลีหันมาสนใจพืชดัดแปลงพันธุกรรมมากขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดลมนัส กาเจ

ความแห้งแล้งในฤดูร้อนของยุโรปไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ น้ำในแม่น้ำได้แห้งลงจนเห็นซากเรือรบและอาคารโบราณ ภาพที่ถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นพื้นที่ที่เคยเขียวขจีของทวีปกลับเปลี่ยนเป็นแอ่งฝุ่นที่แห้ง

สภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งได้สร้างหายนะให้กับการเกษตรของยุโรปด้วยเช่นกัน พื้นที่เพาะปลูกที่ขาดแคลนน้ำในทวีปส่วนใหญ่จะให้ผลผลิตต่ำกว่าที่คาดไว้ในฤดูร้อนนี้ สำหรับพืชบางชนิดความแตกต่างนั้นชัดเจน เช่น ผลผลิตถั่วเหลืองต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี ในอัตราร้อยละ15

ในขณะที่ผลผลิตทานตะวันลดลงร้อยละ12 และจากห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรที่ขยายออกไปอันเนื่องมาจากสงครามในยูเครน ความเปราะบางในระบบอาหารของยุโรปจึงถูกเปิดเผยให้เห็นเด่นชัดขึ้น

เพื่อตอบสนองต่อสภาพปัญหาดังกล่าว นักการเมืองยุโรปบางคนเริ่มคิดทบทวนถึงการต่อต้านพืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) และพืชแก้ไขยีนที่มีมาช้านานของสหภาพยุโรป

ในเดือนกรกฎาคม สมาชิกรัฐสภายุโรปของอิตาลีเรียกร้องให้มีการคลายกฎที่ไม่ให้ปลูกและขายภายในสหภาพยุโรป พันธุ์พืชที่พัฒนาโดยใช้เทคนิคการแก้ไขยีนใหม่ เช่น CRISPR

Antonio Tajani กล่าวในการประชุมที่รัฐสภายุโรปว่า “เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแบบใหม่สามารถใช้พัฒนาให้พืชมีความทนทานความแห้งแล้งและแมลงศัตรูพืชได้มากขึ้น”

ส่วนนักการเมืองอิตาลีคนอื่นๆ ได้เข้าร่วมเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบการแก้ไขยีนในลักษณะเดียวกัน เนื่องเพราะในภาคเหนือของอิตาลี ภัยแล้งรุนแรงมากจนนาข้าวแห้งและเกษตรกรต้องเผชิญกับผลผลิตที่ต่ำกว่าปกติมาก

หากความแห้งแล้งของยุโรปยังคงอยู่ เกษตรกรอาจต้องการพันธุ์พืชใหม่ที่สามารถมีชีวิตอยู่รอดตลอดฤดูร้อนที่แห้งและยาวนาน

ครับ ทีเรื่องสงครามทำตามสหรัฐฯ แต่กับพืชดัดแปลงพันธุกรรมกลับเห็นต่าง ซึ่งตอนนี้สหรัฐฯพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพไปไกลแล้วครับ!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wired.co.uk/article/europe-drought-gene-editing