โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
Dr. Graham Brookes ได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสาร GM Crops & Food ที่เพิ่งจะเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้
การศึกษานี้เป็นการปรับปรุงจากการประมาณการครั้งก่อนสำหรับมูลค่าทั่วโลกของการใช้เทคโนโลยีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified – GM) ในการเกษตรในระดับฟาร์ม (เกษตรกร)
โดยตรวจสอบผลกระทบต่อผลผลิต ต้นทุนการผลิตผันแปรที่สำคัญ รวมถึงต้นทุนของเทคโนโลยี รายได้รวมของฟาร์มโดยตรง และผลกระทบต่อพื้นฐานการผลิตของพืชหลักที่ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว (ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย และคาโนลา) ในช่วงปี 2539 ถึง 2563
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีความสำคัญอย่างมากกับรายได้ของฟาร์มสำหรับผู้ที่ใช้เทคโนโลยีซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 261.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งเท่ากับรายได้เฉลี่ยของฟาร์มที่ได้รับจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั้งหมดที่ปลูกในช่วงเวลาดังกล่าว ประมาณ 112 ดอลลาร์/เฮกตาร์
ในปี 2020 รายได้จากฟาร์มเพิ่มขึ้น 18.8 พันล้านดอลลาร์ (เฉลี่ย 103 ดอลลาร์/เฮกตาร์) รายได้สะสมของฟาร์แบ่งออกเป็นร้อยละ 52 สำหรับเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาและร้อยละ 48 สำหรับเกษตรกรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ร้อยละ 72 ของกำไรมาจากผลผลิตและส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 28 มาจากการประหยัดต้นทุน
ผลผลิตที่ได้เหล่านี้ มีส่วนสำคัญในการเพิ่มระดับการผลิตทั่วโลกของพืชหลัก 4 ชนิด เช่น เพิ่ม 330 ล้านตันและ 595 ล้านตันตามลำดับในการผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั่วโลกตั้งแต่การนำเทคโนโลยีมาใช้ใน กลางทศวรรษ 1990 (2533)
ในปี 2563 การผลิตพืชหลัก 4 ชนิดที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกซึ่งใช้เทคโนโลยีพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างแพร่หลาย (85 ล้านตัน) หากใช้ระบบการผลิตแบบเดิม จำเป็นต้องมีพื้นที่ปลูกเพิ่มเติม 23.4 ล้านเฮกเตอร์เพื่อปลูกพืชเหล่านี้
ในแง่ของการลงทุน สำหรับเงินลงทุนในแต่ละดอลลาร์ที่เพิ่มขึ้นในการซื้อเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม (เทียบกับต้นทุนของเมล็ดพืชทั่วไป) เกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 3.76 เหรียญสหรัฐ และในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 5.22 ดอลลาร์ต่อหนึ่งดอลลาร์เพิ่มเติมที่ลงทุนในเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.00 ดอลลาร์
ครับ ผลการศึกษานี้พอชี้ให้เห็นว่าเกษตรกรจะได้รับประโยชน์เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีพืชดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งเป็นการศึกษาในภาพรวมของโลก
อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://doi.org/10.1080/21645698.2022.2105626