อินโดนีเซีย เล็งใช้ GMOs แก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป้าเพิ่มข้าวโพด 2 เท่า

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

รัฐบาลของอินโดนีเซีย ตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs) แม้จะมีข้อสงสัยจากผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรว่า เป้าหมายดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้านอาหารของประเทศได้อย่างไร

อินโดนีเซียมีอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี โดยแตะที่ระดับร้อยละ 4.94 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งมากกว่าแนวโน้มที่ธนาคารอินโดนีเซียปรับแก้ไขแล้วที่ร้อยละ 4.6

Airlangga Hartarto รัฐมนตรีประสานงานด้านเศรษฐกิจ (Coordinating Economic Minister)กล่าวว่า รัฐบาลพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อโดยทำให้แน่ใจว่า มีเสบียงอาหารภายในประเทศเพียงพอผ่านการใช้ GMOs เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

Airlangga ประมาณการว่า การใช้ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมสามารถเพิ่มผลผลิตได้ 2 เท่าได้เป็น 12 ถึง 13 ตันต่อเฮกตาร์ จากช่วงก่อนหน้าที่ได้ 5 ถึง 6 ตันต่อเฮกตาร์

ด้าน Musdalifah Mahmud ปลัดกระทรวงธุรกิจอาหารและการเกษตรของสำนักงานรัฐมนตรีประสานงานเศรษฐกิจ กล่าวกับหนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ว่า รัฐบาลไม่ได้วางแผนที่จะผ่อนคลายกฎระเบียบเกี่ยวกับ GMOs โดยกล่าวว่า กฎที่มีอยู่นั้นเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ

อย่างไรก็ตาม Musdalifah ยืนยันว่า รัฐบาลต้องการเพิ่มการใช้ GMOs ด้วยกฎระเบียบที่มีอยู่ แต่ไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมว่ากระทรวงจะพยายามดำเนินการให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

 ครับ การมีเจตจำนงที่จะใช้ประโยชน์จาก GMOs เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกำหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าวในอนาคต

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thejakartapost.com/business/2022/08/12/govt-aims-to-combat-food-inflation-with-gmo-experts-and-farmers-skeptical.html