นักวิจัยชาวฟิลิปปินส์พัฒนาพันธุ์มะเขือม่วงที่ปรับปรุงพันธุ์แล้ว ด้วยนวัตกรรมใหม่ให้ต้านทานหนอนเจาะผล-หน่อและเพลี้ยจักจั่น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก University of the Philippines Los Baños (UPLB) ประเทศฟิลิปปิ่นส์ นำโดย Dr. Lourdes D. Taylo กำลังใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อพัฒนาพันธุ์มะเขือม่วงที่ได้ผ่านการปรับปรุงแล้วให้ดีขึ้น จะต้านทานต่อหนอนเจาะผลและหน่อ (eggplant fruit and shoot borer- EFSB) และเพลี้ยจักจั่น (leafhopper- LH)

ทั้งนี้ทีมวิจัยได้ใช้จีโนม เทคโนโลยีการประเมินสรีรวิทยาผ่านสื่อ (IT-based phenotyping platforms) เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุล และเทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการพัฒนาที่เร็วขึ้น

Dr. Taylo จากสถาบันการปรับปรุงพันธุ์พืชของ UPLB รายงานว่า โครงการนี้เกือบจะเสร็จสมบูรณ์ ที่มีเป้าหมายเพื่อค้นหากลไกการป้องกันตามธรรมชาติของเชื้อพันธุกรรมมะเขือม่วงพันธุ์ป่า ต่อ EFSB และ LH ทีมวิจัยได้ลำดับยีน 10 ตัวและโปรโมเตอร์ 10 ตัวในมะเขือม่วง2 ชนิดพันธุ์ ได้แก่ Solanum melongenaและ S. aethiopicum

ทีมวิจัยยังได้ระบุยีนตัวใหม่ 2 ยีนที่ป้องกันสัตว์กินพืชเป็นอาหาร และจำแนกเชื้อพันธุกรรมมะเขือม่วงอีก 60 เชื้อพันธุ์ ด้วยเครื่องหมายทำซ้ำแบบง่าย (simple-sequence repeat – SSR) 6 ตัว นอกจากนี้ นักวิจัยได้ทำการประเมินภาคสนามเพื่อประเมินทางสัณฐานวิทยาความต้านทานของมะเขือม่วง30 สายพันธุ์ ต่อความเสียหายที่เกิดจาก EFSB และ LH

ส่วนทีมวิจัย UPLB ของ Dr. Val Randolf M. Madrid จาก Institute of Computer Science ได้พัฒนา EFSB Motion Tracking Software ซึ่งสามารถตรวจจับตัวอ่อน EFSB ได้แม้ว่าจะอยู่บนชิ้นมะเขือม่วง และสามารถช่วยติดตามความชอบในการกินและการเคลื่อนไหวของตัวอ่อนของ

EFSB, Dr. Taylo และทีมวิจัยกำลังทำการผสมพันธุ์เบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเลือก 20 เชื้อพันธุกรรม เพื่อการพัฒนาแผนที่ยีนเฉพาะของประชากรจัดทำโปรโตคอลการพัฒนาต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื่อเยื่อ และการระบุยีนเป้าหมายสำหรับการแก้ไขยีนด้วย CRISPR-Cas9

โครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล ยังระบุลักษณะประชากรของ EFSB และ LH ของฟิลิปปินส์โดยใช้การศึกษาทางด้านการค้นหาหน้าที่ยีน(functional genomics)single nucleotide polymorphisms (SNPs) และ SSR markers จากจีโนมและลำดับการถอดรหัสของ EFSB และ LH มะเขือมวงพันธุ์ปรับปรุงนี้คาดว่าจะช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือม่วงเพิ่มรายได้ด้วยผลผลิตที่สูงขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น

ครับ เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการพัฒนาพันธุ์มะเขือม่วง ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.pcaarrd.dost.gov.ph/home/portal/index.php/quick-information-dispatch/3998-development-of-improved-eggplant-varieties-pushes-through-with-innovative-technologies