โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ห้องปฏิบัติการ Brandizzi แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐมิชิแกน (Michigan State University – MSU) สหรัฐอเมริกา จะส่งเมล็ดพันธุ์ที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนของ Arabidopsis thaliana(พืชต้นแบบที่ใช้ในการทดลอง) ไปยังอวกาศเพื่อตรวจสอบว่าเมล็ดพันธุ์จากโลกนี้สามารถสร้างความยั่งยืนในการปลูกพืชที่อุดมด้วยสารอาหารและมีการเจริญเติบโตที่ดีในอวกาศได้หรือไม่ ซึ่งจะใช้เป็นแหล่งอาหารสำหรับนักเดินทางในอวกาศ
การทดลองนี้เป็นหนึ่งในสี่ภารกิจที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจการทดลองทางชีวภาพ (Biological and Physical Sciences’ Biological Experiment 01 (BioExpt-01) ของ National Aeronautics and Space Administration (NASA) ผ่าน Artemis I (เป็นการส่งจรวด SLS และยาน Orion แบบไร้นักบินอวกาศ ขึ้นสู่วงโคจรของดวงจันทร์ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอากาศยาน)ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้บุกเบิกการวิจัยทางชีววิทยานอกวงโคจรโลก
วัตถุประสงค์ของนักวิจัยของ MSU ในการส่งเมล็ด Arabidopsis ขึ้นสู่อวกาศคือการศึกษาผลกระทบของการบินในอวกาศที่อยู่เหนือแถบรังสี Van Allen ที่มีต่อกรดอะมิโนของพืช
กรดอะมิโนเป็นส่วนประกอบสำคัญของโปรตีนที่ช่วยให้พืชแข็งแรงบนโลกและเป็นแหล่งสารอาหารสำหรับผู้ที่รับประทาน การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าพืชที่ปลูกในอวกาศต้องเผชิญกับแรงกดดันหลายประการและสูญเสียสารอาหาร รวมถึงกรดอะมิโนในสภาวะไร้น้ำหนัก
นักวิทยาศาสตร์ของ MSU กำลังพยายามทำความเข้าใจชีววิทยาและการพัฒนาของพืชในอวกาศให้ดีขึ้นเพื่อชดเชยการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และปรับปรุงผลผลิตของพืชโดยใช้เมล็ดที่ผ่านการดัดแปลง เนื่องจากเมล็ดเหล่านี้มีปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นต่ออาหารของมนุษย์สูง จึงอาจช่วยนักบินอวกาศในการปลูกและผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อบริโภคในระหว่างการเดินทางไกลในอวกาศ
ผลจากการทดลองนี้จะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจได้มากขึ้นถึงรูปแบบชีวิตทางชีววิทยาที่สามารถอยู่รอดได้ในห้วงอวกาศรวมถึงจะสนับสนุนภารกิจที่บรรทุกคนในอนาคตไปยังดวงจันทร์และดาวอังคารได้อย่างไร
ครับ เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารสำหรับบริการผู้โดยสารที่จะเดินทางไปดวงจันทร์ และ ดาวอังคาร
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://science.nasa.gov/science-news/biological-physical/around-the-moon-and-back-a-test-drive-for-science