ต้นป็อปลาร์ทนแล้งทำงานได้ดีในการทดสอบภาคสนาม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก University of Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น รายงานในวารสารTransgenic Research เกี่ยวกับผลการทดสอบภาคสนามของต้นป็อปลาร์ (Poplar Trees) ที่ดัดแปรพันธุกรรมด้วยยีนที่ทนต่อความเครียดจาก Arabidopsis (พืชต้นแบบที่ใช้ในการศึกษาทางพันธุศาสตร์)

ภัยแล้งเป็นความเครียดที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต(abiotic stress)ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช การพัฒนาต้นไม้ให้มีความทนทานต่อความแห้งแล้งที่เพิ่มขึ้นสามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนได้

ในการศึกษาก่อนหน้านี้ TaichuOguchiซึ่งเป็นนักวิจัยและคณะได้พัฒนาต้นป็อปลาร์ดัดแปรพันธุกรรมซึ่งมียีนAtGolS2(galactinol synthase gene)ที่ตอบสนองต่อความเครียด ยีน AtGolS2 นี้ได้มาจากต้นArabidopsis โดยได้พบว่ามีความทนแล้งในสภาพห้องปฏิบัติการ

ขณะที่ในการศึกษาล่าสุดของคณะวิจัย ต้นป็อปลาร์ดัดแปรพันธุกรรมได้รับการทดสอบภาคสนามภายใต้การจำกัดปริมาณน้ำฝนเป็นเวลา 100 วัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพื่อใช้คาดการณ์ผลลัพธ์ในอนาคต

ผลการศึกษาพบว่าความเสียหายของใบได้รับการบรรเทาอย่างมีนัยสำคัญในระดับความเครียดที่รุนแรงที่สุด ยีนและระดับการถอดรหัสมีเสถียรภาพในต้นป็อปลาร์ดัดแปรพันธุกรรมที่ปลูกในสภาพแปลงปลูก

การแสดงออกที่มากเกินไปของ AtGolS2 นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพที่สำคัญในความทนทานต่อความเครียดจากความแห้งแล้งของต้นป็อปลาร์ดัดแปรพันธุกรรมแม้ในสภาพแปลงปลูก

ครับ ปัญหาที่เกิดจากภัยแล้งจะหมดไปในอนาคต เมื่อพัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://link.springer.com/article/10.1007/s11248-022-00321-x