โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย (University of California Davis) ในสหรัฐอเมริกา กำลังเสนอแนวทางปฏิบัติการเกษตรทางเลือกที่ยั่งยืน ที่สามารถลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไป โดยการปรับเปลี่ยนธัญพืช (พืชอาหาร) เพื่อผลิตสารเคมีที่ใช้ในการตรึงก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศ ซึ่งเป็นสารเคมีชนิดเดียวกันกับที่แบคทีเรียในดินใช้ในการตรึงไนโตรเจน
นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุ สารประกอบในต้นข้าวที่กระตุ้นกิจกรรมการตรึงไนโตรเจนของแบคทีเรียโดยใช้การตรวจคัดกรองทางเคมีและจีโนม จนสามารถระบุเส้นทางที่สร้างสารเคมี จากนั้นจึงใช้การแก้ไขยีนเพื่อเพิ่มการผลิตสารประกอบที่รับผิดชอบในการสร้าง biofilms ที่มีแบคทีเรียที่เพิ่มการเปลี่ยนแปลงไนโตรเจน ส่งผลให้กิจกรรมการตรึงไนโตรเจนดีขึ้นและเพิ่มแอมโมเนียมในดินสำหรับพืช
(การสร้าง biofilms ที่ว่านี้ คือ การรวมกลุ่มกัน ของจุลชีพที่เริ่มจากการเกาะติดบนพื้นผิวที่มีความชื้นสูงหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีของเหลวล้อมรอบ โดยจุลชีพเหล่านี้ร่วมกันผลิตพอลิเมอร์ที่มีลักษณะ เป็นเมทริกซ์ประกอบด้วยสารคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และกรดนิวคลีอิก) นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังกล่าวอีกว่าแนวทางนี้ยังสามารถใช้กับพืชชนิดอื่นได้เช่นเดียวกัน
การค้นพบนี้อาจลดมลพิษไนโตรเจนในสิ่งแวดล้อม ลดโอกาสที่น้ำจะปนเปื้อน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ยังสามารถช่วยเพิ่มรายได้ของเกษตรกรด้วยการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย
ครับ มองเห็นความเป็นไปได้ที่จะทำให้พืชอาหารมีความสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/pbi.13894