กานาอนุญาตให้ปล่อยถั่วพุ่มบีทีแล้ว เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรกสู่สิ่งแวดล้อม-การตลาด

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติของกานา(Ghana’s National Biosafety Authority) ได้อนุญาตถั่วพุ่มดัดแปลงพันธุกรรมที่ต้านทานแมลงศัตรู (ถั่วพุ่มบีที) กรณี 709A เพื่อการนำเข้าและ/หรือใช้ประโยชน์โดยไม่มีเงื่อนไข นับเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมชนิดแรก ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในประเทศกานา การอนุญาตนี้มีอายุ 10 ปีและสามารถต่ออายุได้

ถั่วพุ่มบีที กรณี 709A จะต้านทานหนอนเจาะฝัก (Maruca pod borer)ที่ทำให้ผลผลิตถั่วพุ่มลดลงร้อยละ 20-80 การทดสอบภาคสนามถั่วพุ่มบีที กรณี 709A เริ่มขึ้นในกานาในปี 2559 และตอนนี้ สถาบันวิจัยการเกษตรสะวันนา (Savanna Agricultural Research Institute – SARI) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสามารถทำการทดสอบภาคสนามในพื้นที่ของเกษตรกรที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน2 แห่งใน 2 ฤดูกาลเพาะปลูก

ผลลัพธ์จากการทดสอบนี้จะถูกส่งไปยังคณะกรรมการปลดปล่อยและขึ้นทะเบียนพันธุ์ ภายใต้สภาเมล็ดพันธุ์แห่งชาติของกระทรวงอาหารและการเกษตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นพันธุ์ใหม่ในแคตตาล็อกพันธุ์พืชแห่งชาติ(national variety catalog)ซึ่ง SARI สามารถเริ่มจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ในตลาดการค้าของกานาได้เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้

ถั่วพุ่มหรือที่เรียกว่าถั่วตาดำ(black-eyed peas) เป็นอาหารหลักของผู้คนกว่า 200 ล้านครัวเรือนใน sub-Saharan Africa เป็นถั่วโปรตีนสูงตรึงไนโตรเจนนี้ถูกใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วยเช่นกันประเทศกานาคาดว่า จะผลิตได้เพียง 57,000 เมตริกตันต่อปี เทียบกับความต้องการในปริมาณ169,000 เมตริกตัน กานาจึงต้องนำเข้าจากไนจีเรีย บูร์กินาฟาโซ และไนเจอร์เพื่อเติมเต็มความต้องการ

ถั่วพุ่มบีทีได้รับการอนุญาตในไนจีเรียในปี 2562 และ บูร์กินาฟา กำลังพัฒนาถั่วพุ่มบีทีของตัวเองเช่นกัน

ครับ เป็นที่น่าสังเกตว่า มีการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศแถบแอฟริกา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://apps.fas.usda.gov/newgainapi/api/Report/DownloadReportByFileName?fileName=BT%20Cowpea%20Approved%20for%20Environmental%20and%20Market%20Release_Accra_Ghana_GH2022-0012.pdf