ใช้ CRISPR ความหวังใหม่สู้กับโรคกรีนนิ่ง-แคงเกอร์ในส้มได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในช่วง2 –3 ทศวรรษที่ผ่านมา โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย 2 ชนิด ได้แก่ โรคฮวงลองบิง (Huanglongbing Diseases- HLB) หรือ โรคกรีนนิ่ง (Citrus greening diseases) และโรคแคงเกอร์ของส้ม ได้ทำลายอุตสาหกรรมส้มของรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ทำให้ต้นไม้นับล้านต้นตายและรัฐสูญเสียรายได้หลายพันล้านดอลลาร์ และการผลิตลดลงร้อยละ 80

โรค HLB ได้แพร่กระจายไปยังรัฐอลาบามา แคลิฟอร์เนีย จอร์เจีย ลุยเซียนา มิสซิสซิปปี้ เซาท์แคโรไลนา และเท็กซัส ขณะนี้ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาโรคที่คุกคามนี้ เกษตรกรผู้ปลูกได้ใช้สารกำจัดศัตรูพืชจำนวนมากเพื่อต่อสู้กับโรค สิ่งนี้ไม่ยั่งยืนและมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย

Soilcea  ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ (วิสาหกิจกลุ่มใหม่ ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างก้าว กระโดด) ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมกับ University of Florida (UF) กำลังพยายามแก้ปัญหานี้โดยการพัฒนาต้นส้มที่ต้านทานโรคโดยการใช้ CRISPR ซึ่งเป็นการแก้ไขยีน ที่ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ที่แม่นยำ

CRISPR เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พันธุ์ต้านทานใหม่ที่กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) จัดว่า ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม กระบวนการนี้เลียนแบบวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ซึ่งการแก้ไขยีนนี้จะทำการลบ DNA ที่ทำให้เกิดความอ่อนแอต่อโรค ทำให้พืชสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์อย่างช้าๆ ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

Yianni Lagos ผู้บริหารสูงสุดของ Soilcea กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของผู้ปลูกและสถานเพาะเลี้ยง ในการจัดหาต้นส้มที่ต้านทานโรคแคงเกอร์และ HLB และช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมส้มในรัฐฟลอริดา”

ครับ อีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวิธีการแก้ไขยีน และที่สำคัญ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) จัดว่าไม่ใช่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.aiche.org/resources/publications/cep/2022/july/catalyzing-commercialization-gene-editing-promises-new-disease-resistant-citrus-trees