โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
สถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute)และนักเศรษฐศาสตร์จากแทนซาเนีย ไนจีเรีย ยูกันดา และกานา วิเคราะห์การคาดหวังประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้จากการยอมรับพืชดัดแปลงพันธุกรรมใน 5 ประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมากจากการยอมรับและปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่ผ่านระบบการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ
งานวิจัยนี้ได้ตีพิมพ์ในวารสารFrontiers in Plant Science โดยเน้นไปที่กรณีศึกษาเกี่ยวกับถั่วพุ่มที่ต้านทานแมลงศัตรูในไนจีเรียและกานา มันสำปะหลังที่ต้านทานโรคในยูกันดาและแทนซาเนีย และกล้วยที่ต้านทานโรคในยูกันดา ผลการศึกษาได้เน้นให้เห็นดังต่อไปนี้:
-การประเมินทางเศรษฐกิจและสังคมแบบมีส่วนร่วมนั้นมีค่าต่อการตัดสินใจ เนื่องจากผู้มีอำนาจตัดสินใจจำเป็นต้องพิจารณาว่าประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจใดและการประเมินควรรวมไว้ในกระบวนการกำกับดูแล
-ความล่าช้าที่เกิดจากกระบวนการ R&D และการทบทวนด้านกฎระเบียบ จะส่งผลทางลบต่อประโยชน์ที่คาดการณ์ไว้อย่างมีนัยสำคัญ ผู้กำหนดนโยบายและผู้มีอำนาจตัดสินใจควรมีในนโยบายและโครงการต่างๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการเหล่านี้ และส่งเสริมความพร้อมของพืชดัดแปลงพันธุกรรมให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค
-ผู้มีอำนาจตัดสินใจต้องพิจารณาในการขยายแนวทางปฏิบัติและระบบเมล็ดพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ
-ห่วงโซ่คุณค่า ระบบเมล็ดพันธุ์ และการวิเคราะห์ตลาดอย่างชาญฉลาดเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นในการปรับใช้การปรับปรุงพืชดัดแปลงพันธุกรรม
ผลลัพธ์ดังกล่าวให้ความสำคัญกับระบบการกำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรับประกันว่าพันธุ์ที่ปรับปรุงแล้วจะเข้าถึงเกษตรกรได้ทันเวลาเพื่อให้ผู้รับประโยชน์สามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์เชิงเศรษฐกิจได้ตามที่ตั้งใจไว้
ความล่าช้าที่เกิดจาก R&D และปัญหาจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบจะลดอัตราผลตอบแทนลงอย่างมาก การมีระบบการกำกับดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ มีประสิทธิภาพ คาดการณ์ได้ และโปร่งใส จะทำให้เกษตรกรเข้าถึงพืชดัดแปลงพันธุกรรมได้อย่างปลอดภัยและมีค่าในเวลาที่เหมาะสม
ครับ เป็นการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าประโยชน์ที่เกษตรกรและผู้บริโภคได้รับจากพืชดัดแปลงพันธุกรรม เป็นผลมาจากการมีระบบการกำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพ
อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpls.2022.825930/full