ให้ความรู้ในการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมร่วมกับพืชออร์แกนิกให้เกษตรกรในฟิลิปปิ่นส์

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

ในระหว่างการสัมมนาผ่านเว็บครั้งล่าสุดของ ISAAA ผู้ว่าการจังหวัด Bohol – Aries Aumentado ประเทศฟิลิปปิ่นส์ ได้แสดงความสนใจที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาพูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์ของพืชดัดแปลงพันธุกรรมให้มากขึ้นและวิธีที่จะปลูกพืชเหล่านี้ร่วมกับพืชออร์แกนิก ในพื้นที่ของจังหวัด Bohol และ Negros Occidental ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สนับสนุนให้ทำเกษตรอินทรีย์การให้ข้อมูลเชิงลึกแก่เกษตรกรชาวฟิลิปปินส์เกี่ยวกับพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีอยู่ร่วมกันกับการทำเกษตรอินทรีย์จะช่วยให้เกษตรกรเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทางเลือกที่สามารถนำไปใช้ในการเกษตรได้

การสัมมนาผ่านเว็บในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟิลิปปินส์(Philippine Biosafety Systems) และการเกษตรอินทรีย์และการอยู่ร่วมกัน (Organic Agriculture and Co-Existence) ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ผ่าน Zoom ซึ่งร่วมจัดโดยองค์การISAAA Inc. กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) และ Winrock International ผ่านโครงการBuilding Safe Agricultural Food Enterprise(B-SAFE)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาพรวมของระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟิลิปปินส์และวิธีการที่ข้าวสีทองและมะเขือม่วงบีที ผ่านกระบวนการอนุมัติความปลอดภัยทางชีวภาพ ตลอดจนหารือเกี่ยวกับพระราชบัญญัติเกษตรอินทรีย์แห่งฟิลิปปินส์และผลที่มีต่อ GM และแนวปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน

Dr. Rhodora Romero-Aldemita    กรรมการบริหารของ ISAAA Inc. เป็นผู้ดำเนินรายการ ขณะที่Mr. Ryan Bedfordทูตด้านการเกษตรของ USDA Foreign Agricultural Service เป็นผู้กล่าวเปิดงานและให้ภาพรวมคร่าวๆ ของหัวข้อและผู้บรรยาย ตามด้วยสารจากผู้ว่าการจังหวัด Aumentadoที่อ่าน

นาย Marcos Dioso Jr. ได้เน้นย้ำว่าฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้อย่างไร สารดังกล่าวยังให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสำคัญของประโยชน์ของข้าวสีทองและมะเขือม่วงบีทีแก่เกษตรกรชาวฟิลิปปินส์ เนื่องจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าฟิลิปปินส์กำลังปูทางสำหรับการใช้เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมอย่างปลอดภัย

ที่สำคัญกว่านั้น ผู้ว่าการจังหวัดยอมรับว่ายังมีงานอีกมากที่ต้องทำเพื่อขจัดข้อมูลเท็จเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากBohol เป็นจังหวัดหนึ่งที่ยังไม่ยอมรับเทคโนโลยีชีวภาพ Aumentadoผู้ว่าการจังหวัด จึงได้เชิญผู้จัดงานให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพแก่เกษตรกรและผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เพื่อให้ผู้นำชุมชนและผู้รับผลประโยชน์สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีสำหรับตนเองรวมทั้งเพื่อทำความเข้าใจว่าพืชดัดแปลงพันธุกรรมและเกษตรอินทรีย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างไร

หลังจากได้ฟังสารจากLorelie U. Agbagalaที่เป็นผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์จาก Department of Science and Technology (DOST) และ Head Secretariat of the National Committee on Biosafety of the Philippines และ DOST Biosafety Committee ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับการจัดการระบบนิเวศและความเสี่ยงต่อสุขภาพผ่านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพของฟิลิปปินส์โดยเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการของข้าวสีทองและมะเขือม่วงบีที

การพูดคุยดังกล่าวได้หารือเกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลความปลอดภัยทางชีวภาพของฟิลิปปินส์ กิจกรรมที่ต้องได้รับการอนุญาตตามกฎระเบียบ แนวปฎิบัติในปัจจุบันเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยง และกรณีศึกษาของข้าวสีทองและมะเขือม่วงบีที

Dr. Saturnina Halos ประธานและประธานคณะกรรมการกลุ่มพันธมิตรเทคโนโลยีชีวภาพแห่งฟิลิปปินส์ (Board of Directors of the Biotech Coalition of the Philippines)ได้พูดคุยเกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์และการอยู่ร่วมกันกับพืชดัดแปลงพันธุกรรม รวมทั้งการประยุกต์ใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมใน Bohol และ Negros Occidental ซึ่งเป็น 2 จังหวัดที่ไม่อนุญาตให้ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม

Dr.Halos ได้เน้นย้ำนโยบายเกษตรอินทรีย์ นโยบายการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม และจากนั้นเปรียบเทียบทั้ง2 นโยบายเมื่อเกษตรกรปฏิบัติ ตามมาด้วยการระบุพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาในประเทศ และวิธีการที่เกษตรอินทรีย์และพืชดัดแปลงพันธุกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสภาพแวดล้อมของฟิลิปปินส์

หลังจากการนำเสนอ Dr.Aldemitaได้เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมถามคำถามกับวิทยากร การสัมมนาผ่านเว็บจบลงด้วยคำกล่าวปิดของ Dr. Claro Mingalaผู้อำนวยการสำนักงานโครงการเทคโนโลยีชีวภาพกระทรวงเกษตร (Department of Agriculture Biotech Program Office)

ครับ บทเรียนที่ได้จากฟิลิปปินส์เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการดำเนินงานในเรื่องนี้ในประเทศไทย สิ่งที่เห็นได้ชัด คือ ผู้หลักผู้ใหญ่ของประเทศลงมาเล่นเอง ซึ่งต่างจากประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.isaaa.org/kc/cropbiotechupdate/article/default.asp?ID=19577