ใช้วิธีแก้ไขยีนวัวสู้โรคที่มีเห็บเป็นพาหะในแอฟริกา

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ในขณะที่ผู้คนนับล้านคนทั่วโลกเลี้ยงดูครอบครัวและหาเลี้ยงชีพด้วยวัว ซึ่งเนื้อวัวและนมได้ถูกใช้เป็นอาหารหลักของมนุษย์มาเป็นเวลาหลายพันปี

การเกิด East Coast Fever ซึ่งเป็นโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ ที่คร่าชีวิตวัวที่ติดเชื้อภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ และได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของหลายประเทศในทวีปแอฟริกา ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคมีแนวโน้มที่จะยากจนและความช่วยเหลือจากรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะไม่มีอยู่จริง การตายของวัวจึงเป็นเรื่องท้าทายทางเศรษฐกิจ

ดูเหมือนว่าวัวบางตัวจะมีพันธุกรรมที่แสดงภูมิต้านทานต่อโรคนี้ นั่นหมายความว่า หากเกษตรกรเป็นเจ้าของวัวเพียงตัวเดียวที่มีพันธุกรรมหรือยีนเหล่านี้ พวกเขาก็จะมีโอกาสน้อยที่จะประสบปัญหาทางการเงิน หากเกิดโรคที่มีเห็บเป็นภาหะเข้าโจมตี

การป้องกันโรคดังกล่าวของเกษตรกรแอฟริกันสามารถทำได้ 2 วิธี คือการคัดเลือกพันธุ์ ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรจะคัดกรองวัวที่มียีนที่ต้องการและผสมพันธุ์กับวัวที่มีอยู่ โดยหวังว่าจะส่งต่อยีนดังกล่าวไปยังลูกวัว

อีกทางเลือกหนึ่งคือ การแก้ไขยีน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จะแก้ไขดีเอ็นเอของตัวอ่อนในครรภ์แม่วัว เพื่อให้แน่ใจว่ามียีนที่ต้านทานอยู่ด้วย

ครับ วิธีการแก้ไขยีนนอกจากจะมีศักยภาพในพืชแล้ว ยังสามารถปรับใช้ได้ในปศุสัตว์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ecnmy.org/engage/how-gene-editing-could-turn-cows-into-cash-cows/