โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
รัฐบาลเคนยาได้อนุญาตให้นำเข้ากากเมล็ดฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมปลอดภาษี เพื่อใช้สำหรับการผลิตอาหารสัตว์ ในขณะที่ประเทศกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารสัตว์ ในราชกิจจานุเบกษาได้ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์และอาหารไก่
UkurYatani ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ได้อนุญาตให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ 8 รายนำเข้ากากเมล็ดฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมที่เป็นฝ้ายบีทีได้มากถึง 28,000 เมตริกตัน
“กากเมล็ดฝ้ายที่นำเข้าจะมาจากฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นไปมาตรฐานของเคนยาที่บังคับใช้ภายใต้กฎหมายของเคนยาและดำเนินการโดยสำนักมาตรฐานเคนยาและหน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ” UkurYatani กล่าว
การอนุญาตให้นำเข้านี้ เป็นสัญญาณการสนับสนุนที่สำคัญ ที่จะใช้ฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมในการจัดการกับวิกฤตการณ์อาหารสัตว์ที่ผลักดันภาคการปศุสัตว์ของประเทศไปสู่ปากเหว คำสั่งใหม่นี้เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนโดยรัฐบาลในการจัดลำดับความสำคัญของฝ้ายบีทีให้เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
การใช้การเมล็ดฝ้ายบีทีในการผลิตอาหารสัตว์ เปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกฝ้ายในเคนยาสามารถเจาะตลาดที่หลากหลาย เกษตรกรมีโอกาสที่จะลดการขาดดุลอาหารสัตว์โดยการปลูกฝ้ายเพื่อให้ได้กากเมล็ดฝ้ายมากขึ้น
เคนยาเปิดตัวพื้นที่ปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเชิงพาณิชย์ในปี 2563 และปัจจุบันเกษตรกรในภูมิภาคตะวันออกและตะวันตกกำลังปลูกฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรม ที่ให้ผลผลิตมากกว่าพันธุ์ดั้งเดิมถึง3 เท่า
ความต้องการกากเมล็ดฝ้ายจำนวนมากจะช่วยฟื้นฟูภาคส่วนย่อยของฝ้ายและเปิดกระแสรายได้ที่ร่ำรวยให้กับเกษตรกร การตัดสินใจอนุญาตให้นำเข้ากากเมล็ดฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นหลังจากการเจรจาระดับชาติเกี่ยวกับการพัฒนาระบบอาหารสัตว์ที่ยั่งยืนของเคนยาที่จัดขึ้นที่เมืองไนโรบี
ในระหว่างการเจรจา Harry Kimtai เลขาธิการปศุสัตว์ (Livestock Principal Secretary – PS) บอกเป็นนัยว่ารัฐบาลจะจัดการกับการห้ามและการอนุญาตพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นกรณีไป โดยให้ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนที่สุดว่า การห้ามจะถูกยกเลิกในไม่ช้า
PS เปิดเผยว่า รัฐบาลได้พัฒนากรอบการตรวจสอบภายหลังการปลดปล่อยพืชดัดแปลงพันธุกรรมในกรณีของข้าวโพด Bt ซึ่ง PS Kimtai กล่าวว่า “กรอบการตรวจสอบหลังการปลดปล่อยจะเพียงพอในการปกป้องสุขภาพของมนุษย์ ในขณะที่ประเทศกำลังพิจารณายกเลิกการห้ามนำเข้าอาหารดัดแปลงพันธุกรรม” การเจรจาได้เสนอร่างข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาระบบอาหารสัตว์อย่างยั่งยืนในประเทศ
ครับ อยากเห็นรัฐบาลไทยมีแนวคิดในการสนับสนุนพืชดัดแปลงพันธุกรรมเช่นนี้บ้าง แม้ว่าจะเป็นกรณี ๆ ไป ก็ตาม
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ Dr. Margaret Karembuอีเมล์ mkarembu@isaaa.org