อียิปต์พัฒนาข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนต่อดินเค็มและขาดแคลนน้ำ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องราวสั้น ๆ ในวันหยุด เป็นเรื่องความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการเกษตรในประเทศอียิปต์ครับ!

นักวิจัยจากหน่วยงานพลังงานปรมาณูแห่งอียิปต์ (Egyptian Atomic Energy Authority – EAEA) ได้เริ่มเก็บเกี่ยวข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมที่ปลูกอยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานในเมือง Inshas

ข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมนี้มีลักษณะทางการเกษตรที่ดีขึ้นหลายประการ เช่น ให้ผลผลิตสูง ทนต่อดินเค็ม และทนต่อการขาดแคลนน้ำ

ข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาตร์ของอียิปต์ สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่า 4 ตันต่อเอเคอร์  ซึ่งสูงกว่าข้าวสาลีทั่วไปที่เพาะปลูกอยู่เกือบ 1 ตัน

ที่สำคัญการเพาะปลูกข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรมที่ว่านี้ใช้เวลาเพียง 140 วัน ด้วยประโยชน์ของข้าวสาลีดัดแปลงพันธุกรรม คาดว่าจะสามารถเพิ่มการผลิตข้าวสาลีในท้องถิ่นของประเทศได้ถึงร้อยละ 33 และลดความจำเป็นในการนำเข้าข้าวสาลีด้วย

ครับ หลายประเทศแม้แต่อียิปต์ ยังเห็นความสำคัญของพืชดัดแปลงพันธุกรรม ที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต และลดการนำเข้า

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.egypttoday.com/Article/1/115421/Egypt%E2%80%99-agriculture-scientists-at-Atomic-Energy-Authority-produces-new-strain