โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจากหลากหลายสาขาวิชาที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology – MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกา กำลังร่วมกันทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเกษตร ซึ่งเป็นการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาพืชที่มีสุขภาพดี
โครงการสหสาขาวิชาชีพนี้มีชื่อว่า “การปฏิวัติเกษตรกรรมด้วยพืชที่มีความยืดหยุ่นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” (Revolutionizing agriculture with low-emissions, resilient crops)ซึ่งป็นหนึ่งใน5 โครงการที่ชนะในการแข่งขัน Climate Grand Challenges โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านสภาพอากาศที่ซับซ้อนและนำเสนอแนวทางการเปลี่ยนแปลงที่ทันท่วงที
Christopher Voigt หัวหน้าโครงการและศาสตราจารย์ในภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพ (Department of Biological Engineering)ของ MIT กล่าวว่า“ทีมวิจัยพยายามที่จะจัดการกับความท้าทาย 2 ประการที่มีความเชื่อมโยงกัน : ประการแรก ความจำเป็นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยทางการเกษตร, และประการที่สอง ความจริงที่ว่าผลผลิตของพืชทางการเกษตรในปัจจุบันหลายชนิดจะลดลง เนื่องจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการเผาผลาญของพืช”
Christopher Voigt กล่าวอีกว่า “ทีมวิจัยกำลังดำเนินการตามโครงการสหวิทยาการ 6 โครงการ ซึ่งแต่ละโครงการเป็นกุญแจสู่เป้าหมายโดยรวมในการพัฒนาวิธีการให้ปุ๋ยแก่พืชเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นั่นคือพืชจะได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมชีวภาพ (ดัดแปลงพันธุกรรม) ให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิผลมากขึ้นในสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง”
โครงการนี้รวมถึงการหาวิธีถ่ายทอดความสามารถในการให้ปุ๋ยด้วยตนเอง(self-fertilizing ability)ของพืชตระกูลถั่วไปยังพืชธัญพืชเพื่อสร้างความยั่งยืนของการผลิตอาหาร
ครับ เป็นการใช้ความรู้ทางพันธุวิศวกรรม ในการพัฒนาพันธุ์พืช ให้สามารถได้รับปุ๋ยด้วยตัวเอง เช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่ว ที่ได้รับธาตุไนโตรเจนจากกระบวนการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.mit.edu/2022/using-plant-biology-help-address-climate-change-0419