โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
ภาคการเกษตรนั้น ถือเป็นภาคส่วนที่ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรโลก และสิ่งที่ท้าทายต่อภาคการเกษตร มี 4 ประเด็นหลัก คือ
1.จำนวนประชากร (demographic)ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขยายตัวของความเป็นเมือง ส่งผลให้พื่อที่ทำการเกษตรลดลง
2.ทรัพยากรที่หาได้ยากขึ้น (scarce resources) ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรลดลงประมาณร้อยละ 25 ประชากรโลกประมาณร้อยละ 40 อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่หาน้ำได้ยาก
3.ขยะจากเศษอาหาร (food waste) มีมากถึงร้อยละ 33 – 50 ของอาหารที่ผลิตได้ทั่วโลก
4.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตลดลง ส่งผลต่อระบบอาหารและการผลิตทางการเกษตร
กรณีขยะจากเศษอาหาร (food waste) เมื่ออาหารเสีย ปัจจัยการผลิตทั้งหมดที่ใช้ตั้งแต่การผลิตจนถึงการขนส่งและการเก็บรักษา คือ การปลดปล่อยของเสียที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอาหารที่เน่าเปื่อยในหลุมฝังกลบทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเช่นมีเทนการลดปริมาณขยะจากเศษอาหาร สามารถบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
อาการช้ำที่เกิดขึ้นในผลไม้ ทำให้เซลล์เสียหาย ความเสียหายของเซลล์ทำให้เอ็นไซม์ที่เรียกว่าโพลีฟีนอลออกซิเดต (PPOs) มาสัมผัสกับโพลีฟีนอลและออกซิไดซ์ให้เป็นเมลานิน – บราวนิ่ง
ลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในผลไม้หลายชนิด เช่น ในผลแอปเปิ้ล ซึ่งผู้บริโภคไม่ชอบกินแอปเปิ้ลที่มีตำหนิ การวิจัยทางสังคมศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าแอปเปิ้ลอาร์กติก (Arctic Apples) สามารถช่วยลดปริมาณเศษอาหารได้
แอปเปิ้ลอาร์กติก ได้ถูกดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสร้าง RNA interference (กระบวนการในการควบคุมการแสดงออกของลักษณะทางพันธุกรรมอย่างหนึ่ง) ซึ่งจะลดปริมาณ PPO ของแอปเปิ้ลและไม่ทำให้เกิดสีน้ำตาลจากเอนไซม์ แต่ไม่ได้ป้องกันการเกิดสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นต่อมาหลังจากนั้น เนื่องมาจากการเข้าทำลายของจุลินทรีย์
ที่สำคัญคือ สามารถลดปริมาณเศษอาหารและทำให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wired.com/story/genetically-modified-arctic-apple-targets-consumers-not-farmers/