โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจาก University for Development Studies ได้ทำการสำรวจเพื่อตรวจสอบการรับรู้ของเกษตรกรและการยอมรับเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมในประเทศกานา ผลการวิจัยได้ตีพิมพ์ในวารสาร African Journal of Agricultural Research โดยแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีความหวังอย่างมากต่อการปลดปล่อยพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้นในประเทศ
จากการสัมภาษณ์เกษตรกรรายย่อยจำนวน 360 รายจาก 10 อำเภอในภาคเหนือของประเทศกานา ที่มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่ม (focus group discussions) ผู้ถูกสัมภาษณ์ยอมรับว่าเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาพันธุ์พืชในท้องถิ่นให้ทนต่อความแห้งแล้ง อายุสั้น และให้ผลผลิตสูง และยังช่วยลดต้นทุนในการควบคุมวัชพืช แมลงศัตรู และโรคพืชอีกด้วย
เมื่อถูกถามเกี่ยวกับปัญหาที่อาจพบในการใช้เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม ผู้ถูกสัมภาษณ์ระบุข้อกังวลต่อไปนี้ คือ ต้นทุนสูงของเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรมความไม่น่าเชื่อถือในการจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม ความล้มเหลวที่เป็นไปได้ของหน่วยงานกำกับดูแล และความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น และอื่นๆ .
จากผลการวิจัย นักวิจัยได้แนะนำให้กระทรวงอาหารและการเกษตร (Ministry of Food and Agriculture)หน่วยงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ กองตรวจสอบเมล็ดพันธุ์กานา และองค์กรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ดำเนินการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร
โดยเฉพาะต้นทุนเมล็ดพันธุ์พืชดัดแปลงพันธุกรรม การจัดหาเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรม และความเสี่ยงด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาใช้
ครับ เป็นความหวังเดียวกันกับเกษตรกรไทย เช่นเดียวกับความห่วงกังวลที่มีคล้าย ๆ กัน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://academicjournals.org/journal/AJAR/article-full-text/13C5A9168848