อินเดียตัดสินใจจะไม่กำกับดูแลพืชแก้ไขยีน-อาหารอย่างเข้มงวดเหมือนสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในกฎระเบียบ ที่ประกาศเมื่อวันที่ 30 มีนาคม2565คือ พืชหรือสิ่งมีชีวิตที่แก้ไขจีโนมหรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่มียีน “ที่มาจากสิ่งมีชีวิตอื่น” จะอยู่ภายใต้กระบวนการกำกับดูแลที่แตกต่างจากกระบวนการที่ใช้กับพืชหรือสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม – การตัดสินใจนี้มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ เช่น CRISPR

นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งที่ทำงานโดยใช้เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะยกเว้นผลิตภัณฑ์แก้ไขยีน2 ประเภท ที่การแก้ไขยีนนั้นไม่ได้มีการถ่ายฝากยีนที่มาจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยไม่ต้องกำกับดูแลเหมือนผลิตภัณฑ์ที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม

การแก้ไขยีนมีสามประเภท คือ SDN1 SDN2 และ SDN3 สองประเภทแรก ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ “การหยุดทำงานของยีน” หรือ “เพิ่มการแสดงออกของยีน” ที่ควบคุมลักษณะบางอย่างโดยไม่ต้องถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่นจะอยู่ในขอบข่ายการกำกับดูแลที่เปลี่ยนแปลงใหม่นี้

ส่วนประเภทที่สาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการถ่ายฝากยีนจากสิ่งมีชีวิตอื่น จะถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมSDN ย่อมาจาก Site-directed Nuclease และหมายถึงปฏิกิริยาที่ตัดการเชื่อมโยงโควาเลนต์น้ำตาล-ฟอสเฟตอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง NUCLEOTIDES ที่ประกอบเป็นแกนหลักน้ำตาลฟอสเฟตของดีเอ็นเอเพื่อให้มีผลในการแก้ไขจีโนม

Bhagirath Choudhary จากศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเอเชียใต้ (South Asia Biotechnology Centre)ซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีจีเอ็ม กล่าวว่า “ด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ อินเดียจึงมีกระบวนการกำกับดูแลแยกต่างหากสำหรับเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของคณะกรรมการประเมินผลพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering Appraisal Committee หรือ GEAC”

ครับ บ้านเรายังไม่มีความชัดเจนในเรื่องนี้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hindustantimes.com/india-news/rules-relaxed-for-some-gene-edited-plants-organisms-101648665945313.html