เทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พืชช่วยเพิ่มการผลิตธัญพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ผู้เชี่ยวชาญจากจีนและเยอรมนี ตีพิมพ์บทความที่ตรวจสอบวรรณกรรมเกี่ยวกับผลกระทบของเทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พืชต่อการส่งเสริมการผลิตธัญพืช ในวารสาร Plants

ธัญพืชเป็นแหล่งอาหารหลักของมนุษย์ทั่วโลก และมีความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และความรุนแรงของโรคพืช ได้กลายเป็นสิ่งที่ท้าทายของการผลิตธัญพืช  ดังนั้น นักวิจัยจึงได้หาทางที่จะพัฒนาวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ใช้อยู่ทั่วไป

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาดังกล่าวต้องใช้เวลา แต่การเพิ่มเติมด้วยเทคนิคการแก้ไขจีโนม เพื่อพัฒนาพันธุ์พืช มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาพันธุ์พืชที่แม่นยำและเร็วขึ้นอีก เทคนิคเหล่านี้รวมถึง CRISPR-Cas9, CRISPR-Cpf1 และวิธีการแก้ไขจีโนมที่ปราศจากทรานส์ยีนอื่นๆ อีกหลายวิธี

จากบทความ เทคโนโลยีเหล่านี้จะนำไปสู่การปฏิวัติวงการปรับปรุงพันธุ์พืช และนักวิจัยจะบรรลุความสำเร็จที่โดดเด่นอย่างรวดเร็ว กระนั้นเครื่องมือเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับปัญหาต่างๆ ที่ขัดขวางการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่

การผสานรวมเทคนิคแก้ไขจีโนมกับวิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิม จะทำให้การปรับปรุงพันธุ์พืชทำได้เร็วขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

บทความนี้ยังสรุปวิธีการแบบดั้งเดิม แบบโมเลกุล และแบบบูรณาการเพื่อเร่งขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของธัญพืช

      ครับ เป็นบทความที่ชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยวิธีการเดิม ๆ อาจไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและความรุนแรงของโลกพืชที่เพิ่มขึ้น ควรใช้ร่วมกับเทคนิคการแก้ไขยีน ที่จะช่วยให้การพัฒนาพันธุ์พืชทำได้เร็วขึ้นและมีความแม่นยำ

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mdpi.com/2223-7747/11/8/1052