การจำแนกยีนที่ควบคุมการผสมตัวเองในพืชให้สามารถผสมเองได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

มีการค้นพบยีน “Highlander” ที่ควบคุมการผสมตัวเองไม่ติด ซึ่งการค้นพบนี้มีศักยภาพที่จะทำให้พืชสามารถผสมตัวเองได้ เป็นสร้างโอกาสในการปรับปรุงพันธุ์พืชและยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

การศึกษาเริ่มด้วยการสังเกตดอกป๊อปปี้ (Papaver rhoeas)ซึ่งมีกลไกในการหลีกเลี่ยงปัญหาในการผสมตัวเอง ดอกป๊อปปี้สามารถจดจำละอองเกสรของตัวเองและกระตุ้นโปรแกรมการกำจัดของเซลล์ ซึ่งเป็นวิธีที่แม่นยำในการกำจัดละอองเรณูที่ไม่ต้องการ ความสามารถในการควบคุมพืชเพื่อให้สามารถผสมตัวเองได้หรือไม่นั้น มีศักยภาพที่จะช่วยให้นักปรับปรุงพันธุ์พัฒนาพืชที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

จากนั้นนักวิจัยได้ใช้ Thale cress (Arabidopsis thaliana) ซึ่งเป็นพืชที่ “ผสมตัวเอง” เป็นพืชต้นแบบสำหรับการวิจัย เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการดัดแปลงการผสมตัวเองไม่ติดในพืช พืชได้รับการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมเพื่อระบุยีนใหม่ที่มีความสำคัญสำหรับการควบคุมการผสมตัวเองไม่ติด

นักวิจัยได้พัฒนาสายพืช Arabidopsis ที่ผสมตัวเองไม่ติดเพื่อจำแนกยีน “Highlander” ซึ่งเมื่อเอายีนตัวนี้ออกแล้วก็จะยกเลิกการผสมตัวเองไม่ติดและทำให้พืชสามารถผสมตัวเองได้ ยีนยังมีรหัสโปรตีน PGAP1 ที่พบในยีสต์และมนุษย์ และขณะนี้ก็ยังพบอยู่ในพืชด้วย การศึกษานี้จึงเป็นครั้งแรกที่มีการระบุหน้าที่ของยีนนั้นในพืช

ยีน “Highlander” ได้รับการตั้งชื่อตามนักรบอมตะในภาพยนตร์ชื่อเดียวกันที่สร้างขึ้นในปี 2529 อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม(University of Birmingham) และในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารCurrent Biology

ครับ ในอนาคตพืชที่ผสมตัวเองไม่ติดก็จะสามารถผสมติดได้ เพื่อการพัฒนาพันธุ์พืชต่อไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0960982222003426