ทีมวิจัย NTU Singapore ผลิตน้ำมันจากสาหร่ายขนาดเล็ก ใช้ทำอาหารแทนน้ำมันปาล์ม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ (Nanyang Technological University, Singapore – NTU Singapore) ได้พัฒนาวิธีการผลิตและสกัดน้ำมันพืชอย่างมีประสิทธิภาพจากสาหร่ายขนาดเล็กทั่วไป

ทั้งนี้โดยใช้วิธีการที่ค้นพบใหม่ซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าใช้น้ำมันปาล์มน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันพืชที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกและถูกใช้ในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคประมาณครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสวนปาล์มน้ำมัน เป็นสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าจำนวนมากในหลายประเทศซึ่งเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าพื้นเมืองที่ใกล้สูญพันธุ์

ทีมนักวิจัยจาก NTU ได้เพิ่มกรดไพรูวิก (pyruvic acid) ลงในสารละลายที่มีสาหร่ายขนาดเล็กที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chromochloris zofingiensis และนำไปสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอเลต เพื่อกระตุ้นการสังเคราะห์ด้วยแสง

ทีมงานได้พัฒนานวัตกรรมการลดต้นทุนเพื่อแทนที่อาหารเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กที่ใช้กากถั่วเหลืองหมักในขณะที่ปรับปรุงผลผลิตชีวมวลของสาหร่ายขนาดเล็ก หลังจากผ่านไป 14 วัน สาหร่ายขนาดเล็กจะถูกล้างตากให้แห้ง และเติมด้วยเมทานอล เพื่อสลายพันธะระหว่างน้ำมันกับโปรตีนจากสาหร่าย

จากนั้นจึงสกัดน้ำมันออกมา นวัตกรรมนี้อาจใช้เป็นทางเลือกแทนการปลูกปาล์มน้ำมัน
ทีม NTU ยังได้พัฒนากระบวนการผลิตกรดไพรูวิก ซึ่งเป็นส่วนผสมของปฏิกิริยาหลักที่จำเป็นต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตน้ำมัน

ครับ เป็นการพัฒนาเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการผลิตน้ำมันพืชแทนการผลิตน้ำมันปาล์มครับ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ntu.edu.sg/docs/default-source/corporate-ntu/hub-news/scientists-led-by-ntu-singapore-produce-oils-from-microalgae-that-could-replace-palm-oil-in-food-production.pdf?sfvrsn=ef60abc6_1