นักวิจัยชาวจีนจำแนกยีนเพื่อดัดแปลงแอนโธไซยานินในพืช

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจากสวนพฤกษชาติเขตร้อนสิบสองปันนา (Xishuangbanna Tropical Botanical Garden – XTBG) ของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences – CAS) ได้ค้นพบยีนสำคัญที่ควบคุมการสังเคราะห์ทางชีวภาพของแอนโธไซยานิน (Anthocyanins) และโปรแอนโธไซยานิดิน(proanthocyanins)

ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Experimental Botany นักวิจัยพบว่า MtGSTF7 ซึ่งเป็นยีน TT19-like glutathione S-transferase (GST) ถูกกระตุ้นโดยตัวควบคุมการสร้างแอนโธไซยานิน LAP1 ในการสะสมของแอนโธไซยานิน ไม่ใช่โปรแอนโธไซยานินในพืชตระกูลถั่ว Medicago truncatula ซึ่งเป็นพืชต้นแบบ

(Anthocyanins)

นักวิจัยพบว่า MtGSTF7 มีบทบาทสำคัญในการสะสมแอนโธไซยานินใน M. truncatula นอกจากนี้ MtGSTF7 ยังสามารถช่วยพืชกลายพันธุ์ที่ขาดแอนโธไซยานินให้มีชีวิตอยู่รอดได้

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า LAP1 สามารถผูกกับโปรโมเตอร์ MtGSTF7 เพื่อกระตุ้นการแสดงออก การแสดงออกนอกเซลล์ (Ectopic expression) ของ MtGSTF7 จากการกลายพันธุ์ของ tt19 สามารถช่วยไม่ให้ขาดแอนโธไซยานินได้ แต่ทำให้โปรแอนโธไซยานินบกพร่อง

ครับ เป็นเรื่องการศึกษาเพื่อความเข้าใจในการทำงานของยีน ที่ทำหน้าที่สะสมแอนโธไซยานิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตันในสมอง ด้วยการยับยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน ชะลอความเสื่อมของดวงตา ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) อีโคไล (Escherichia coli) ในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วงและอาหารเป็นพิษด้วย

    อ่านเพิ่มได้ที่ https://english.cas.cn/newsroom/research_news/life/202203/t20220324_302989.shtml