เทคนิคการแก้ไขยีนในพืชขยายวงกว้างขึ้น หลายประเทศฝ่าฝืนนโยบาย อียู

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

อังกฤษเป็นประเทศแรก ตามด้วยสวิสเซอร์แลนด์ ที่ไม่ดำเนินตามนโยบายของสหภาพยุโรป ที่ออกกฎหมายว่าด้วยพันธุวิศวกรรมที่เข้มงวด ม่ควรใช้เป็นกฎหมายกลางอีกต่อไป และสหภาพยุโรปเองก็กำลังทำการปฏิรูป สิ่งที่จะเกิดขึ้นยังไม่มีความชัดเจน เพราะยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก และน่าจะต้องใช้เวลาหลายปี แต่หลายประเทศที่อยู่ในทวีปยุโรปมีความก้าวหน้ามานานแล้ว

แม้ในทางปฏิบัติจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนักในช่วงแรก แต่ก็เป็นสัญญาณที่มีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อย่างยิ่ง  ทั้งนี้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2565 รัฐสภาสวิสฯได้ตัดสินใจว่าพืชที่พัฒนามาจากวิธีการแก้ไขยีน เช่น CRISPR/Cas และไม่ได้ถ่ายฝากสารพันธุกรรมใหม่ ๆ เข้าไปพืชดังกล่าวไม่ใช่พืชดัดแปลงพันธุกรรมอีกต่อไป

เป็นการพลิกกลับที่น่าแปลกใจ เนื่องจากมีการห้ามใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างเข้มงวดในสวิตเซอร์แลนด์เป็นเวลาหลายปี จากการลงประชามติในปี 2548 เป็นต้นมาซึ่งมีการต่ออายุครั้งแล้วครั้งเล่าทุก ๆ สี่ปี

ล่าสุดต่ออายุจนถึงปี 2568 แต่การลงประชามติในครั้งล่าสุดนี้ จะไม่รวมพืชแก้ไขจีโนมอย่างง่าย ๆ (ไม่มีการถ่ายฝากสารพันธุกรรมใหม่ ๆ) อีกต่อไป แม้ว่าจะเป็นพืชที่ได้จากการผสมข้ามระหว่างพืชแก้ไขจีโนมกับพืชปกติ และภายในปี 2024 สภาแห่งสหพันธรัฐ – รัฐบาลสวิส – จะนำเสนอข้อเสนอสำหรับ “การอนุญาตบนพื้นฐานของความเสี่ยง (risk-based approval)”

แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ว่าจะยกเว้นพืชแก้ไขจีโนมอย่างง่าย จากข้อกำหนดที่เคยประกาศไว้ ตามที่ร้องขอโดย Swiss Farmers’ Association หรือไม่ การเปลี่ยนแปลงข้อห้ามนี้ เป็นการแสดงออกถึงบรรยากาศความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้บริโภคที่เป็นคนรุ่นใหม่กำลังเติบโตและเปิดใจมากขึ้นต่อ “การแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรมในการเกษตร”

รัฐสภาอังกฤษ หลังจากออกจากสหภาพยุโรป ได้ตัดสินใจรัฐสภาว่าในอนาคต การทดลองภาคสนามของพืชแก้ไขจีโนมอย่างง่ายจะไม่ต้องถูกอนุญาตในกระบวนการที่ใช้เวลานานอีกต่อไป เพียงแค่ลงทะเบียนไว้ก็เพียงพอแล้ว และปฎิบัติตามกฎใหม่สำหรับการอนุญาตและการเพาะปลูก

ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลอังกฤษจึงต้องการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพืชชนิดใหม่ ที่ช่วย “ลดการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืช” รวมถึงทำให้ “ทนทานต่อสภาพอากาศที่ยากลำบากและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”

ครับ ไม่ทราบว่าผู้กำกับนโยบายของไทย มีความคิดเห็นเช่นนี้บ้างหรือไม่? 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://geneticliteracyproject.org/2022/03/28/global-crop-gene-editing-advances-as-numerous-countries-break-from-european-unions-crop-restrictive-policies/