โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
มหาวิทยาลัยวอชิงตัน (University of Washington) และพันธมิตรในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาร่วมกับเกษตรกรโดยใช้แนวทางการทำการเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดิน เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อปริมาณสารอาหารที่มีอยู่ในอาหาร ผลการศึกษาถูกตีพิมพ์ในวารสาร PeerJ
การเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดิน จะรวมถึงการไม่ไถพรวน การใช้พืชคลุมดิน และการใช้ระบบหมุนเวียนที่หลากหลาย เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และเพื่อจัดทำเป็นเอกสารในการยืนยันหรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบของการเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดินที่มีต่ออาหาร
การเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดินในครั้งนี้ ได้ทดลองกับฟาร์ม 10 แห่งในสหรัฐอเมริกา จึงปลูกพืชทดสอบในพื้นที่หนึ่งเอเคอร์เป็นเวลาห้าปี เปรียบเทียบกับพืชชนิดเดียวกันที่ปลูกในฟาร์มใกล้เคียงโดยใช้การเกษตรแบบเดิม
ผลการศึกษาพบว่า พืชที่ได้จากฟาร์มที่ทำการเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดิน มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าพืชชนิดเดียวกันที่ปลูกในฟาร์มที่ทำการเกษตรแบบเดิม ดินที่มีสุขภาพดีขึ้น
นอกจากนี้ยังพบเห็นได้ในฟาร์มที่ทำการเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดิน ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุและมีวิตามิน แร่ธาตุ และไฟโตเคมิคอล (phytochemicals คือ สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืช) ในระดับที่สูงขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์ และมีองค์ประกอบที่เป็นพิษในระดับที่ต่ำกว่าในฟาร์มที่ทำการเกษตรปฏิรูปเพื่อฟื้นฟูดินเมื่อเทียบกับฟาร์มที่ทำการเกษตรแบบเดิม
ครับ เป็นการทำการเกษตรแนวใหม่ที่น่าสนใจ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://peerj.com/articles/12848/