โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เพื่อช่วยให้ผู้ปลูกมะม่วงและแมคคาเดเมีย มีความเข้าใจในหน้าที่การทำงานของยีนต่าง ๆ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ (Queensland University of Technology – QUT) ในออสเตรเลีย กำลังพัฒนาเครื่องมือใหม่ สำหรับการทดสอบหน้าที่การทำงานของยีนเพื่อเร่งการพัฒนาพันธุ์พืชทั้ง 2 ชนิด ให้ตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความท้าทาย เช่น แมลงศัตรูพืช โรคพืช และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
มะม่วงและแมคคาเดเมียมีสัดส่วนครึ่งหนึ่งของอุตสาหกรรมพืชสวนของออสเตรเลีย แต่ทั้งคู่ยังไม่ได้ผ่านโครงการปรับปรุงพันธุ์ระดับโมเลกุลเพื่อ พัฒนาพันธุ์ให้มีความยืดหยุ่นต่อแมลงศัตรูพืช โรคพืช และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Dr. Stephanie Kerr และตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหานี้ด้วยการพัฒนาเทคนิคใหม่ ๆ ที่ใช้อนุภาคนาโนเพื่อชักจูงการแสดงออกของยีนในการออกดอกและอาจทำให้ระยะเวลาในวัยอ่อนของพืชสั้นลง
เทคนิคแรกจะใช้ ‘ท่อนาโน’ (nanotubes) ที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กพอที่จะเข้าไปในเซลล์ของพืช เพื่อนำโมเลกุลที่หยุดการแสดงออกของยีนที่ขัดขวางไม่ให้พืชออกดอก เทคนิคที่สองคือ ‘บาดแผลระดับไมโคร’ (micro wounding) หรือการใช้เข็มฉีดยาทางผิวหนังขนาดเล็กเพื่อสร้างรูเล็กๆ เพื่อให้ Agrobacterium สามารถส่งโมเลกุลที่กระตุ้นการแสดงออกของยีน เพื่อการออกดอกให้เร็วขึ้น
ทั้งสองเทคนิคได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ประสบความสำเร็จเมื่อใช้กับต้นไม้ชนิดอื่น โดยจะลดช่วงวัยเยาว์ลงจาก 7- 20 ปี เหลือเพียงไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือน หาก Kerr และคณะประสบความสำเร็จด้วยเทคนิคใหม่นี้ พันธุ์มะม่วงและแมคคาเดเมียที่สามารถรับมือกับแมลงศัตรูพืช โรคพืช และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็จะสามารถพัฒนาได้ในระยะเวลาอันสั้น
ครับ ผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาน่าจะศึกษาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในบ้านเรา
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.qut.edu.au/news?id=180398