ทีมวิจัยเยอรมันถอดรหัสจีโนมมันฝรั่งได้อย่างสมบูรณ์เป็นครั้งแรก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     เป็นครั้งแรกที่นักวิจัยจากLudwig Maximilian University ในเมืองมิวนิกและสถาบัน Max Planck เพื่อการวิจัยด้านปรับปรุงพันธุ์พืช (Max Planck Institute for Plant Breeding Research)ในเมืองโคโลญจน์ของประเทศเยอรมันนี ได้ถอดรหัสจีโนมที่มีความซับซ้อนสูงของมันฝรั่งได้อย่างสมบูรณ์

     นักวิจัยที่นำโดยนักพันธุศาสตร์ชื่อ KorbinianSchneeberger จากสถาบัน Max Planck เพื่อการวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ได้ประสบความสำเร็จในการถอดระหัสจีโนมที่สมบูรณ์ครั้งแรกของมันฝรั่ง ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่ปูทางไปสู่การปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งพันธุ์ใหม่ที่มีความแข็งแรง

      Schneeberger กล่าวว่า “มันฝรั่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของโภชนาการพื้นฐานทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ” และเสริมว่าแม้แต่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น จีนที่บริโภคข้าวเป็นหลัก ยังบริโภคมันฝรั่ง การศึกษานี้สามารถสนับสนุนการปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งสายพันธุ์ใหม่โดยใช้ข้อมูลจีโนม ที่มีประสิทธิผลและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความมั่นคงด้านอาหารของโลกในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

      มันฝรั่งมีความหลากหลายต่ำ และทุกคนที่ซื้อมันฝรั่งในปัจจุบันมักจะกลับบ้านด้วยมันฝรั่งที่มีลักษณะเหมือนมันฝรั่งเมื่อ100 ปีมาแล้ว ความหลากหลายต่ำ ทำให้มันฝรั่งอ่อนแอต่อโรคได้เสมอ ดังเช่นที่เกิดเหตุการณ์การขาดอาหารของชาวไอริชในทศวรรษที่ 2383

      ในทำนองเดียวกัน การสร้างจีโนมมันฝรั่งขึ้นใหม่เป็นความท้าทายทางเทคนิคที่ยิ่งใหญ่กว่าจีโนมมนุษย์มาก เนื่องจากมันฝรั่งได้รับโครโมโซมแต่ละตัวจำนวน 2 ชุดที่มาจากต้นพ่อและแม่ รวมเป็นจำนวนโครโมโซม4 ชุด ซึ่งหมายถึงมียีน 4 ชุด ทำให้การสร้างพันธุ์ใหม่เพื่อรวมลักษณะเฉพาะที่ต้องการจึงเป็นเรื่องยากและใช้เวลานาน

      Schneeberger เพื่อนร่วมงาน Hequan Sun และนักวิจัยคนอื่น ๆ หลีกเลี่ยงปัญหานี้โดยไม่ใช้ DNA ที่นำมาจากเนื้อเยื่อใบตามปกติ แต่จะวิเคราะห์จีโนมของเซลล์ละอองเรณูแต่ละตัว เซลล์เรณูแต่ละเซลล์ต่างจากเซลล์อื่นๆ ตรงที่มีโครโมโซมเพียง2 ชุด ทำให้ง่ายต่อการสร้างจีโนมขึ้นใหม่ ด้วยข้อมูลใหม่นี้ นักวิจัยสามารถระบุยีนที่ควบคุมลักษณะที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย

    ครับ เป็นแนวทางในการพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งที่มีจำนวนโครโมโซม 4 ชุด โดยใช้เทคโนโลยีระดับโมเลกุล

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mpipz.mpg.de/5429100/pr-potato-2022