ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนใช้ CRISPR พัฒนาข้าวฟ่างหอม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ผู้เชี่ยวชาญจาก Chinese Academy of Sciences สาธารณรัฐประชาชนจีน รายงานถึงความสำเร็จในการพัฒนาข้าวฟ่างหอมโดยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน CRISPR-Cas9 ซึ่งผลการวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นรายงานความก้าวหน้าใน Journal of Integrative Plant Biology

ข้าวฟ่างเป็นพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในอันดับที่ 5 และถูกใช้เป็นอาหารหลักและเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราและน้ำส้มสายชู นอกจากนี้ยังใช้ทำเป็นหญ้าหมักเนื่องจากมีสารชีวมวลและคุณภาพสูง

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีพันธุ์ข้าวฟ่างที่มีกลิ่นหอม ดังนั้น นักวิจัยจึงใช้เทคนิคการแก้ไขยีน CRISPR-Cas9 เพื่อหยุดการทำงานของยีน SbBADH2 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมกลิ่นในข้าวฟ่าง ส่งผลให้เมล็ดและใบของต้นข้าวฟ่างมีกลิ่นหอม

ใบข้าวฟ่างจะถูกทำให้แห้งและบดเป็นผงเพื่อใช้เป็นอาหารกระต่าย และกระต่ายก็แสดงความสนใจในอาหารที่มาจากข้าวฟ่างหอม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นหนึ่งในศักยภาพที่จะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงสัตว์

       ครับ เป็นที่น่าทึ่งจริง ๆ ที่เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้เกิดลักษณะที่พึงประสงค์เพียงแค่หยุดการทำงานของยีน

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jipb.13232