วิกฤตในยูเครนตอกย้ำถึงแนวทางแก้ปัญหาระยะยาวเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของโลก

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ยูเครนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก โดยในปี 2565 ได้ถูกจัดว่าเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก คิดเป็นมูลค่า 3.59 พันล้านดอลลาร์ และจากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในยูเครน รวมทั้งการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจในชนบทของประเทศในระยะยาว จึงมีโอกาสเกิดความวุ่นวายที่เชื่อมโยงกับราคาธัญพืชหลัก

ข้าวสาลีเป็นพืชอาหารหลักและมีความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากมีการบริโภคมากกว่า 2.5 พันล้านคนทั่วโลก ประเทศผู้บริโภคข้าวสาลีจำนวนมากต้องพึ่งพาการนำเข้า ทำให้เกิดความอ่อนแออย่างมากในการจัดหาอาหารและเพิ่มความเสี่ยงด้านมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้อง

ข้าวสาลีจากยูเครนส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง และข้าวสาลีที่กำลังปลูกอยู่มากกว่า 37.5 ล้านไร่ในยูเครนมีกำหนดที่จะเก็บเกี่ยวในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม 2565

ในขณะเดียวกัน การคว่ำบาตรทางการค้าต่อรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ที่สุดในโลกมีแนวโน้มที่จะสร้างแรงกดดันต่อตลาดข้าวสาลีระหว่างประเทศ ทำให้คาดกันว่าราคาข้าวสาลีในปัจจุบันจะเพิ่มขึ้น และผู้ซื้อบางรายไม่สามารถจ่ายในราคาที่สูงขึ้นได้

วิกฤตด้านมนุษยธรรมและความขัดแย้งในปัจจุบันจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงอาหาร ในกรณีของข้าวสาลี การแก้ปัญหาระยะยาวจะต้องมีการลงทุน การประสานงาน และความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรพัฒนา และอุตสาหกรรมเกษตรในระดับที่สูงขึ้น

การเพิ่มผลผลิตและความสามารถในการทำกำไรจากข้าวสาลีในภูมิภาคที่ไม่มีความมั่นคงด้านอาหารซึ่งปลูกข้าวสาลีในแบบดั้งเดิมเป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหา เช่นเดียวกับการสนับสนุนการขยายการผลิตข้าวสาลีไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศที่พึ่งพาการนำเข้ามาเพื่อตอบสนองความต้องการในท้องถิ่น

      ครับ คงจะต้องลำบากหน่อยสำหรับประเทศที่ต้องพึงพาการนำเข้า วกกลับมาในประเทศไทยเรามีนโยบายเพื่อเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cimmyt.org/blogs/what-price-wheat/