ถึงคราวต้องดัดแปลงพันธุกรรมแบคทีเรียในดิน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

คลื่นความร้อนจำนวนมากและความแห้งแล้งกำลังคุกคามเกษตรกรและในอีกสามทศวรรษข้างหน้า หุบเขา San Joaquin ในแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียว อาจสูญเสียพื้นที่เพาะปลูกมากถึง 535,000 เอเคอร์ อันเป็นผลมาจากแหล่งน้ำที่ลดน้อยลง

Jennifer Brophy ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชีวภาพที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ต้องการช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว และกำลังหาวิธีการที่หวังว่าจะถูกนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชที่ปลูกในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้อยู่รอดได้ในสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวย

เขา กล่าวว่า ตัวแปรภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และ “ถ้าเราสามารถดัดแปลงพันธุกรรมพืชให้ทนแล้งได้ เราอาจผลิตสิ่งเดียวกันได้โดยใช้ทรัพยากรน้อยลง”

Brophy ตั้งข้อสังเกตว่า การดัดแปลงพันธุกรรมสิ่งมีชีวิตในอนาคตอาจไม่ใช่แค่การดัดแปลงพันธุกรรมในพืชเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการดัดแปลงพันธุกรรมของแบคทีเรียในดินด้วย

แทนที่จะให้ชาวนาพ่นสารเคมีลงบนพืชเพื่อกระตุ้นการตอบสนอง อาจเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน โดยดัดแปลงพันธุกรรมให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพืชขนาดเล็ก เมื่อสภาพแวดล้อมของแบคทีเรียเปลี่ยนไป พวกมันอาจส่งสัญญาณทางเคมีเพื่อบอกให้พืชปรับเปลี่ยนการเจริญเติบโตไปตามนั้น

Brophy กล่าวอีกว่า การจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะต้องใช้วิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ทั้งหมดที่มนุษย์สามารถทำได้

    ครับ เป็นแนวคิดที่นำไปสู่การวิจัยและพัฒนาจนนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://engineering.stanford.edu/magazine/can-we-engineer-crops-withstand-climate-change