ถกเถียงยังไม่จบ!! การแก้ไขยีนเพื่อใช้เป็นอาหารและการเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ผู้สนับสนุนการแก้ไขจีโนม ซึ่งรวมถึงบริษัทเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ ต่างกล่าวว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยเร่งสิ่งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติหรือผ่านวิธีการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิมให้เร็วขึ้น

ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงน้อยมากนอกจากนี้เครื่องมืออย่าง CRISPR-Cas9 ยังมีความแม่นยำมากกว่าเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมรุ่นก่อนๆ ดังนั้นความเสี่ยงที่ยีนที่มีประโยชน์จะถูกทำลายในกระบวนการพัฒนาจึงมีน้อยกว่า

แต่นักวิจารณ์โต้แย้งว่า การแก้ไขจีโนมสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของจีโนมในพืชที่มีความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางชีวภาพ น้ำและดิน สุขภาพของมนุษย์ รวมทั้งการผลิตอาหารอินทรีย์

แถมบางคนยังกังวลว่า พืชแก้ไขยีนดังกล่าวสามารถเอาชนะสายพันธุ์ธรรมชาติและสร้างให้เกิดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในวงกว้าง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ

ในขณะเดียวกัน หลายคนก็โต้แย้งว่า ความเสี่ยงบางอย่างยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ยังมีคำถามด้านจริยธรรมและสังคมว่า เมื่อไหร่และที่ใดควรใช้เทคโนโลยีนี้ และใครบ้างที่สามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ได้

แนวทางในการวางกฎระเบียบยังมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และจากความกังวลด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้หลายประเทศเปลี่ยนนโยบายด้านพันธุวิศวกรรมที่มีมายาวนาน

รวมทั้งกฎระเบียบที่กำหนดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยและการติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่มาจากการแก้ไขจีโนม

    ครับ ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านมีความคิดเห็นอย่างไร?

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.swissinfo.ch/eng/explainer–the-controversy-behind-genome-editing-our-food/47288954