โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
นักวิจัยจากบราซิลได้คัดเลือกสายพันธุ์ถั่วแขก (common bean – Phaseolus vulgaris L.) ดัดแปลงพันธุกรรม (GM) ที่มีความต้านทานต่อโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิด ทำให้สามารถลดการสูญเสียผลผลิตและลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในแปลงปลูกได้
bean common mosaic virus (BCMV), bean golden mosaic virus (BGMV) และ cowpea mild mottle virus (CPMMV) ไวรัสทั้ง 3 ชนิด ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อถั่วแขก
โดย BGMV และ CMMV มีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ พันธุ์ถั่วแขกดัดแปลงพันธุกรรม ได้รับการพัฒนาผ่านการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติและเครื่องมือระดับโมเลกุล โดยมีพันธุ์BRS Estiloและ BRS Sublime เป็นต้นพ่อแม่ที่ใช้ในการผสมกลับ (recurrent parents)
พ่อแม่ทั้ง2 พันธุ์ เป็นพันธุ์ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมมีความต้านทานตามธรรมชาติปานกลางต่อ CPMMV และยังต้านทานต่อ BCMV แต่อ่อนแอต่อ BGMV
จากการที่ได้ทำการทดสอบภาคสนาม2 ครั้งเพื่อประเมินการแสดงออกทางการเกษตรและความรุนแรงของโรค จากนั้นทำการคัดเลือกได้ 39 สายพันธุ์ จาก477 สายพันธุ์ที่ทดสอบ และทำการวิเคราะห์ระดับโมเลกุลเพื่อระบุการมีอยู่ของยีนต้านทาน BCMV และ BGMV
นอกจากนี้ยังทำการปลูกเชื้อด้วยวิธีกลเพื่อตรวจหาความต้านทานต่อCPMVV พบว่า มี 5 สายพันธุ์ที่ต้านทานไวรัสทั้ง3 ชนิด นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลในลักษณะทรงต้น ความต้านทานต่อการหักล้ม และคุณภาพเมล็ดในระดับตลาด
จาก 5 สายพันธุ์ดังกล่าว สายพันธุ์เหล่านี้มีศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์ถั่วแขกให้มีผลผลิตสูง มีลักษณะทางการเกษตรและคุณภาพของเมล็ดที่พึงประสงค์ และมีความต้านทานต่อไวรัสหลายชนิด
ครับ ครับเป็นการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีการปกติ โดยการผสมข้ามกับสายพันธุ์ที่ดัดแปลงพันธุกรรม และใช้เทคนิคทางโมเลกุลช่วยระบุการมียีนต้านทาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.researchsquare.com/article/rs-1177807/v1