พัฒนาพันธุ์คาโนลาให้ต้นเตี้ยด้วยCRISPR-Cas9 เพื่อลดการหักล้ม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

นักวิจัยจาก University of Calgary ใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน (gene editing technology) เพื่อพัฒนาพันธุ์คาโนลาต้นเตี้ยและแตกแขนงสูง โดยมีฝักมากกว่าและเก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงนี้เป็นไปตามความต้องการของผู้ปลูกคาโนลา

คาโนลาพันธุ์ใหม่นี้จะมีต้นที่เตี้ยกว่าค่าเฉลี่ยของต้นคาโนลาพันธุ์ปกติ ร้อยละ 34  การลดความสูงของต้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการหักล้ม และเป็นเรื่องยากในการควบคุมความสูงของต้นคาโนลา

ดังนั้นจึงทำให้เห็นการหักล้มของต้นคาโนลาจำนวนมาก นักวิจัยได้ใช้เทคโนโลยี CRISPR-Cas9 และกำหนดเป้าหมายที่ฮอร์โมน strigolactone ซึ่งมีหน้าที่ในการระงับการแตกแขนงในพืช พวกเขาใช้กรรไกรโมเลกุล (molecular scissors) เพื่อปิดตัวรับรู้ฮอร์โมน strigolactone

คาโนลาที่แก้ไขยีนไม่ได้มีไว้สำหรับใช้ในเชิงพาณิชย์ เพียงแต่ใช้เป็นข้อพิสูจน์ของแนวคิดในการทดสอบเชื้อพันธุกรรมของบริษัทเมล็ดพันธุ์ เพื่อตรวจสอบว่าจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นหรือไม่

ครับ เป็นเพียงต้องการพิสูจน์ว่า การลดความสูง โดยการเพิ่มปริมาณกิ่งแขนง จะเพิ่มผลผลิตของคาโนลาหรือไม่ ซึ่งนักวิจัยสามารถทำให้ต้นคาโนลาเตี้ยกว่าค่าเฉลี่ยของต้นปกติลงได้ร้อยละ 34 โดยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีน

 อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.manitobacooperator.ca/news-opinion/news/researchers-use-gene-editing-to-create-breakthrough-canola-variety