เสนอกรอบการจำแนกสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมกับสิ่งมีชีวิตที่แก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยฮอกไกโด (Hokkaido University)ประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอกรอบการจำแนกที่สามารถใช้ เพื่อแยกความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified organisms – GMOs) ออกจากสิ่งมีชีวิตที่แก้ไขจีโนมหรื/ยีน (genome-edited organisms) โดยคำนึงถึงทั้งด้านเทคนิคจริยธรรมและสังคม การนำเสนอนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารTrends in Biotechnology

สิ่งมีชีวิตที่ใช้เทคนิคการแก้ไขจีโนม อาจมีดีเอ็นเอ(DNA) หรือสายพันธุกรรมแปลกปลอมหรือไม่มีเลยก็ได้ ดังนั้นในกรอบการจำแนกที่เสนอ หากไม่มี DNA แปลกปลอมเข้ามาเกี่ยวข้อง ผลลัพธ์ที่ได้จะถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ GMO

ในกรณีที่ตัวทำปฏิกิริยาหรืออาหารเพาะเลี้ยงอาจมี DNA แปลกปลอม ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องได้รับการทดสอบหา DNA แปลกปลอมที่มีอยู่ ตำแหน่งในจีโนมที่มีแนวโน้มว่าจะมี DNA แปลกปลอมรวมอยู่ ตำแหน่งเหล่านั้นจะได้รับการวิเคราะห์ผ่านการตรวจหลายอย่าง รวมถึงการหาลำดับ DNA

เป้าหมาย การหาลำดับจีโนมทั้งหมด และgenomicSouthern blots (เทคนิคที่ใช้ในการตรวจสอบจีโนม) หากยืนยันการมีอยู่ของ DNA แปลกปลอม ให้ถือว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็น GMO

การมีกรอบการจำแนกที่ชัดเจนจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือของกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ

ครับ นั่นเป็นข้อเสนอในการจำแนกสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมออกจากสิ่งมีชีวิตแก้ไขยีน ประเด็นหลัก คือ ถ้าไม่มีดีเอ็นเอแปลกปลอมให้ถือว่าไม่ใช่สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.cell.com/trends/biotechnology/fulltext/S0167-7799(21)00260-2? utm_source=miragenews&utm_medium=miragenews&utm_campaign=news