โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
มี 2 รายงานใหม่ ที่มุ่งเป้าไปที่สวัสดิการสังคมและต้นทุนทางเศรษฐกิจ ในประเทศต่างๆ ที่จำกัดการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในภาคการเกษตร
รายงานจาก วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร (Council for Agricultural Science and Technology – CAST) ระบุว่า แม้ว่าการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั่วโลกจะสร้างรายได้ระดับฟาร์มประมาณ 57 พันล้านดอลลาร์ในปี 2559 การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมอย่างแพร่หลายอาจสร้างรายได้เพิ่มอีก 65 พันล้านดอลลาร์ โดยประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับผลประโยชน์ส่วนใหญ่
ทั้งนี้จากรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Student Research (JSR) ระบุว่า การปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนการผลิตอันเนื่องมาจากการลดปัจจัยการผลิตทางการเกษตร เช่น สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู และรายได้ที่เพิ่มขึ้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
แม้จะมีการเผยแพร่รายงานและความน่าสนใจเกี่ยวกับศักยภาพของพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ นักวิจัยยังได้อ้างถึงตลาดและปัจจัยด้านกฎระเบียบต่างๆ ที่ขัดขวางการเข้าถึงผลประโยชน์เหล่านี้ โดยเฉพาะอุปสรรคทางการค้าที่มีต่อสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ทำให้ลดการเข้าถึงอาหาร จำกัดรายได้จากการเพาะปลูก และเพิ่มราคาขายโดยรวม
ครับ ถ้าลดอุปสรรคทางการค้าได้ ก็น่าจะช่วยให้ประเทศที่ปฏิเสธเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมมีโอกาสได้เห็น ‘ราคาอาหารลดลง การสัมผัสสารพิษลดลง และ โรคพืชน้อยลง’
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://farmersreviewafrica.com/what-price-do-countries-pay-by-failing-to-adopt-genetically-modified-gm-crops/