ก้าวใหม่วิทยาศาสตร์เกษตร ทำให้ผลผลิตข้าวโพด-ถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นด้วย epigenetic

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต

   เปิดศักราชใหม่ของปีเสือ พ.ศ. 2565 ขอนำเสนออีกหนึ่งแนวทางที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชในยุคแห่งพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโยลีการเกษตร เพื่อรองรับการขยายของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง

   epigenetics เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง เป็นพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงการแสดงออกของยีนที่เกิดจากกระบวนการอื่นนอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงลำดับดีเอ็นเอ  ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยเพิ่มหรือลดการแสดงออกของยีนที่มีอยู่ในพันธุ์ลูกผสมหรือพันธุ์ทั่วไป คล้ายกับแป้นหมุนที่ใช้ในการปรับสัญญาณสถานีวิทยุ

    Travis Bayer ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Sound Agriculture (ความมั่นคงทางการเกษตร) ได้ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ต้นข้าวโพดที่ต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนและแห้งแล้งสามารถเปิดหรือปิดยีนบางชนิดได้โดยธรรมชาติ เพื่อช่วยในการปรับตัว

     “เป้าหมายทั้งหมดของความมั่นคงทางการเกษตรบนความต้องการของการปรับปรุงพันธุ์(Sound Agriculture’s On-Demand Breeding)คือการทำให้การปรับปรุงพันธุ์ทำได้เร็วขึ้น และพัฒนาลักษณะตามความต้องการ”

    นักวิทยาศาสตร์ของ Sound Agriculture สามารถปรับเปลี่ยนการแสดงออกของยีนได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ เมื่อเทียบกับจำนวนปีที่ใช้ในการผสมพันธุ์แบบปกติ และถ้าจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถแก้ไขและทดสอบซ้ำได้อย่างรวดเร็ว

     ต่างจากการแก้ไขยีนตรงที่ไม่มีการตัดดีเอ็นเอและไม่มีการใส่ยีนแปลกปลอมเข้าไปในดีเอ็นเอเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในเทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งกระบวนการกำกับดูแลจึงไม่ค่อยเข้มข้น

      Sound Agriculture มีเป้าหมายในการปรับปรุงพันธุ์บนความต้องการในข้าวโพด ถั่วเหลือง และข้าวสาลี และ Bayer กำลังร่วมมือกับบริษัทเมล็ดพันธุ์หลายแห่งเพื่อพัฒนาคุณลักษณะสำหรับพันธุ์ทั่วไปและลูกผสมที่มีอยู่

      ครับ เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการปรับปรุงลักษณะทางการเกษตรของพืชที่เพาะปลูก ที่ต่างจากการแก้ไขยีนและการดัดแปลงพันธุกรรม

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.agriculture.com/crops/corn/plant-breeding-advances-may-spark-annual-corn-and-soybean-yield-increases