โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยวสุภาษิต
ก่อนวันสิ้นปี 2564 มีบทบทวิจารณ์หนังสือเรื่อง ‘The Economics of Sustainable Food’ แปลตรงตัวได้ว่า ‘เศรษฐศาสตร์ของอาหารที่ยั่งยืน’ และอาจจะหมายถึงการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความพอใจสูงสุดแก่สังคม ที่นำไปสู่อาหารที่ยั่งยืน
เนื้อหาในหนังสือมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้สนับสนุน นักเคลื่อนไหว และผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านอาหารและการเกษตร Nicoletta Batini ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือเล่มนี้มีความหวังว่า The Economics of Sustainable Food จะช่วย “ออกแบบกลยุทธ์นโยบายสาธารณะที่ดี” เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนระหว่างอาหาร เศรษฐศาสตร์ และ ภูมิอากาศ.
สาระและเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ “การจัดหาอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม-ความต้องการอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม-การทิ้งขยะจากอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม-การอนุรักษ์ที่ดินและทะเลเพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหาร” ซึ่งแต่ละส่วนมีผู้เขียนหลายคน ที่รวมถึงนักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนา นักเกษตร นักเคลื่อนไหว และผู้นำที่ไม่แสวงหาผลกำไร
เป็นเพราะในแต่ละส่วนมีผู้เขียนหลายคน จึงทำให้มีหลายมุมมอง และอาจเกิดความสับสนและความคลุมเครือทางความคิดได้ตัวอย่างเช่น การเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรแบบเดิม ซึ่งเป็นการเกษตรเชิงพาณิชย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง และเกี่ยวข้องกับปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ยสังเคราะห์และยาฆ่าแมลง ไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ และการทำนาแบบปฏิรูป
ในบทเดียวกันนี้ ก็สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูที่ดินหรือผืนป่าให้กลับสู่สภาพเดิมและให้มีการปลูกป่าใหม่ที่ใช้เพื่อการเกษตร
แนวคิดทั้ง2 นี้อาจขัดแย้งกันโดยตรงซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว เกษตรอินทรีย์ให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าการทำเกษตรทั่วไป หมายความว่าเกษตรกรอินทรีย์ต้องการที่ดินมากขึ้นเพื่อผลิตอาหารในปริมาณเท่ากัน
ใน๘ะเดียวกัน หากมองอีกมุมหนึ่ง ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะกลับคืนสู่สภาพป่าได้อย่างไร หากเกษตรกรต้องการที่ดินมากขึ้น เพื่อการผลิตทางการเกษตร
ครับ อ่านแล้วก็ต้องวิเคราะห์ ก่อนที่จะสรุปว่า เราจะผลิตอาหารได้มากขึ้นโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงได้อย่างไร
อ่านเพิ่มเติมบทวิจารณ์ได้ที่ https://issues.org/can-it-scale-economics-sustainable-food-review-smith-shah/