การแก้ไขยีนจะเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์แสงและการเกษตรได้อย่างไร?

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย….ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

  จริงผมเขียนในวันสุดท้ายของปี 2564 ขอนำเสนอเพื่อให้ทราบว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มนักวิจัยที่มีความพยายามเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืชด้วยวิธีการแก้ไขยีน

       Stephen Long เป็นศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาพืชและวิทยาศาสตร์พืชที่University of Illinois Urbana-Champaign และเป็นผู้อำนวยการโครงการชื่อ Realizing Increased Photosynthetic Efficiency (การเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง) หรือ RIPE แนวคิดของ RIPE คือ แม้ว่าการสังเคราะห์แสงจะน่าทึ่ง แต่ก็จำเป็นต้องทำให้ดีขึ้น

    Long  บอกว่า “อาหารทั้งหมดของเรา ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม มาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และเรารู้ว่าแม้แต่พืชผลที่ดีที่สุดของเราก็ยังบรรลุประสิทธิภาพตามทฤษฎีของการสังเคราะห์แสงเพียงเสี้ยวเดียว ดังนั้น หากเราสามารถหาวิธีปรับปรุงการสังเคราะห์แสงได้ เราก็สามารถเพิ่มผลผลิตได้ เราจะได้ไม่ต้องบุกเบิกพื้นที่เพื่อเพาะปลูกพืชอีกต่อไปเราสามารถผลิตได้มากขึ้นบนที่ดินที่เราใช้อยู่แล้ว”

     มีการกล่าวกันว่า ปัจจุบันโลกต้องการการปฏิวัติเขียวครั้งใหม่ หรือการปฏิวัติเขียวครั้งที่สอง หรือการปฏิวัติเขียว 2.0 อัตราการเติบโตของผลผลิตสำหรับพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าว และข้าวโพดดูเหมือนจะถึงจุดที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก และจำนวนผู้ที่หิวโหยก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง

    Long มีความกระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะให้เมล็ดพันธุ์พืชที่มีความสามารถในการสังเคราะห์แสงแก่เกษตรกรในอนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮารา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ไม่ได้รับประโยชน์มากนักจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ที่เกิดจากการปฏิวัติเขียวครั้งแรก และทุกวันนี้ ผู้คนกว่า200 ล้านคน ยังขาดสารอาหารอย่างเรื้อรัง

    Long บอกอีกว่า “ถ้าเราสามารถจัดหาเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรรายย่อยในแอฟริกาที่จะผลิตอาหารได้มากขึ้นและทำให้พวกเขามีชีวิตที่ดีขึ้น นั่นคือสิ่งที่กระตุ้นให้กับทีมวิจัยจริงๆ”

      ครับ แม้ว่ายังไม่มีผลที่ออกมาเป็นรูปธรรม แต่ก็ยังมีความหวังว่า เทคนิคการแก้ไขยีนจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.newyorker.com/magazine/2021/12/13/creating-a-better-leaf