เกือบ 3 ทศวรรษบทพิสูจน์ อาหารจากพืชดัดแปลงพันธุกรรมมีความปลอดภัย ที่ผลิตใน 70 ประเทศ

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     การดัดแปลงพันธุกรรมทางการเกษตรของโลกเริ่มขึ้นเมื่อเกือบ 3 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เพื่อผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้น และก็ได้ผลในปี 2539 มีพื้นที่ปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมทั้งโลก 10.62ล้านไร่ และ ในปี 2561มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 1,198.12 ล้านไร่หรือเพิ่มขึ้น 113 เท่า และมีมากกว่า 70 ประเทศ ที่ผลิตอาหารประเภทนี้ บราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่เป็นอันดับ2 รองจากสหรัฐอเมริกา

     นอกจากนี้ อาหารที่รับประทานเป็นประจำทุกวันจำนวนมากมาย อาจมีอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรมอยู่ในองค์ประกอบ เช่นน้ำมันพืช แป้ง มันสำปะหลัง ซีเรียล (ธัญพืช) มาการีน (เนยเทียม) มายองเนส (ซอสที่เกิดจากการผสม ไข่แดง น้ำมันพืช และน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู จนได้ซอสสีครีม ข้น) เค้ก พุดดิ้ง ช็อคโกแลต มักกะโรนี ชีส (เนยแข็ง) และโยเกิร์ต และอื่น ๆ ยังมีอีกมากมายมหาศาล ที่ผลิตขึ้นด้วยส่วนผสมที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม

      ดังนั้น แทนที่จะกังวลเกี่ยวกับอาหารที่มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม ที่ผ่านการตรวจสอบโดยนักวิจัย แพทย์ และนักโภชนาการก่อนที่จะวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต ก็ขอให้เพลิดเพลินกับถั่วเหลืองในสลัดหรือแฮมเบอร์เกอร์มังสวิรัติ หรือแม้แต่ขนมอบทอดในน้ำมันร้อน ๆ และทิ้งความกังวลดังกล่าว รวมทั้งวัคซีนโควิด 19 ที่เป็นข่าวปลอมใน Whats App

     ครับ เกือบ 30 ปี ที่มีการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงผลกระทบทางลบใด ๆ ถึงเวลาที่ประเทศไทยจะส่งเสริมเทคโนโลยีนี้อย่างจริงจังได้แล้ว

   อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://tribunapr-uol-com-br.translate.goog/blogs/rural-urbano/alimentos-transgenicos-sao-um-caminho-sem-volta-eles-estao-no-campo-e-na-nossa-mesa/?_x_tr_sl=auto&_x_tr_tl=en&_x_tr_hl=en-US