ค้นพบยีนที่ควบคุมการเจริญพันธุ์ของข้าวสาลีในสภาวะสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     การใช้เทคนิคการแก้ไขยีน CRISPR-Cas9 นักวิจัยจาก John Innes Center ได้จำแนกยีนในข้าวสาลีที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างผลผลิต การค้นพบนี้อาจช่วยนักปรับปรุงพันธุ์ในการพัฒนาพันธุ์ข้าวสาลีที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

     ยีน ZIP4ในข้าวสาลี มีหน้าที่คิดเป็นร้อยละ 50 ในการสร้างผลผลิต ข้าวสาลีมีโครโมโซมอยู่มากกว่าสองชุดขึ้นไปที่วิวัฒนาการมาจากการผสมข้ามกับหญ้าป่าเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อนในตะวันออกกลาง ในระหว่างกระบวนการนี้ ยีน ZIP4 จะถูกทำซ้ำจากโครโมโซม 3 ไปเป็นโครโมโซม 5B และการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่ายีนที่ถูกทำซ้ำจะทำหน้าที่หลักสองอย่างระหว่างการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ ส่งเสริมการจับคู่โครโมโซมและลดการไขว้เปลี่ยนของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมที่เกี่ยวข้อง

    เป็นเวลานานกว่า 60 ปีแล้วที่เชื่อกันว่าหน้าที่ในการลดมีส่วนรับผิดชอบต่อความเสถียรของจีโนมและผลผลิตพืช นักวิจัยได้สร้างพืชกลายพันธุ์โดยลบยีน ZIP4 5B ออก ส่งผลให้สูญเสียทั้ง2 หน้าที่การกลายพันธุ์นี้ทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 50 และยืนยันว่า ZIP4 5B มีบทบาทสำคัญในการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ของข้าวสาลี

     ครับ เนื้อหาเป็นการศึกษาที่ลงลึกไปหน่อย แต่สื่อความได้ว่า ยีนZIP4 5B ในข้าวสาลีมีบทบาทสำคัญในการสร้างผลผลิต ที่อาจจะช่วยรักษาผลผลิตได้ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.jic.ac.uk/press-release/gene-editing-discovery-yields-high-promise-for-wheat-fertility-in-a-changing-climate/