โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจาก Radboud University ในเนเธอร์แลนด์ ได้ทำเอกสารที่แจ้งให้ผู้คนทราบถึงฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ ที่คัดค้านความเชื่อที่ผิดพลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับอาหารดัดแปลงพันธุกรรม (genetically modified foods) และสามารถช่วยแก้ไขความเชื่อเหล่านั้นได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรณรงค์เพื่อต่อต้านข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของอาหารดัดแปลงพันธุกรรม
นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบว่า การช่วยให้ผู้คนเข้าใจและทราบถึงฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ในช่วงเริ่มแรก จะสามารถช่วยเปลี่ยนความเชื่อและนำไปสู่ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นได้หรือไม่ โดยใช้แพลตฟอร์ม crowdsourcing ออนไลน์(การกระจายคำถามไปยังกลุ่มคนขนาดใหญ่เพื่อค้นหาคำตอบและส่วนมากในการทำ Crowdsourcing จะหมายถึงกลุ่มชุมชน Online หรือในโลก Cyber)
ทั้งนี้เพื่อเลือกผู้เข้าร่วม 1,500 คนจากสหรัฐอเมริกา ที่มีความเชื่อว่าอาหารดัดแปลงพันธุกรรมนั้นแย่ต่อสุขภาพของคนมากกว่าอาหารที่ไม่ได้มาจากการดัดแปลงพันธุกรรม ผู้เข้าร่วมจะได้รับข่าวสารที่นำเสนอด้วย Infographics (การนำข้อมูลหรือความรู้มาสรุปเป็นสารสนเทศ ในลักษณะของข้อมูลและกราฟิกที่อาจเป็นลายเส้น สัญลักษณ์กราฟ แผนภูมิไดอะแกรม แผนที่ฯลฯ ที่ออกแบบเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ดูแล้วเข้าใจง่ายในเวลารวดเร็วและชัดเจน สามารถสื่อให้ ผู้ชมเข้าใจความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้โดยไม่จำาเป็นต้องมีผู้นำเสนอ) เกี่ยวกับคุณค่าของความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์และวิธีการในการระบุคุณค่า ต่อจากนั้น ผู้เข้าร่วมจะถูกขอให้อ่านบทความเกี่ยวกับฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ที่ขัดแย้งกับความเชื่อของพวกเขา
จากการวิเคราะห์ข้อมูล นักวิจัยพบหลักฐานที่ชัดเจนว่ากลยุทธ์การสื่อสารใน 2 ขั้นตอนประสบความสำเร็จในการแก้ไขการตีความที่ผิด การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการให้ผู้คนได้ทำความเข้าใจในประเด็นที่จะสื่อสาร และอ่านฉันทามติทางวิทยาศาสตร์สามารถช่วยแก้ไขความเชื่อผิดๆ ได้ดีขึ้น นักวิจัยจึงสรุปว่าการสื่อสารฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ ควบคู่ไปกับแคมเปญการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ที่เน้นการเพิ่มความเข้าใจและการทำฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ เป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพสำหรับกลยุทธ์ในการต่อต้านข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ผิด
ครับ ลองทำดูกับความเชื่อที่ผิดของคนไทยในเรื่องของพืชดัดแปลงพันธุกรรม ก็น่าจะดี แต่อาจจะมีปัญหาอยู่ที่ จะหาฉันทามติได้อย่างไร
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/09567976211007788