การได้มาสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่สร้างความเจ็บปวดมากมายให้ภาคการเกษตร

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     ในที่สุดคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของ ข้อเสนอ F2F (Farm to Fork หรือ กลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร) และยุทธศาสตร์ความหลากหลายทางชีวภาพในภาคเกษตรกรรม

     ภาระผูกพันสำคัญของข้อเสนอนี้ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคเกษตรกรรมของสหภาพยุโรป ได้แก่ การลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชร้อยละ 50 และลดการใช้ปุ๋ยร้อยละ 20 และตั้งเป้าที่จะให้มีพื้นที่การเกษตรอยู่ภายใต้ภูมิประเทศที่มีความหลากหลายสูงร้อยละ 10 และมีพื้นที่การเกษตรอยู่ภายใต้เกษตรอินทรีย์อย่างน้อยร้อยละ 25

     ผลการศึกษา พบว่า มีอุปทานลดลงร้อยละ 10-15 ในผลผลิตทางการเกษตรหลัก ๆ เช่น ซีเรียล เมล็ดพืชน้ำมัน เนื้อวัว และโคนม สำหรับเนื้อหมูและสัตว์ปีก ลดลงมากกว่าร้อยละ 15 และมากกว่าร้อยละ 5 ในผักและพืชยืนต้น

      นอกจากนี้ สถานะการค้าสุทธิของสหภาพยุโรปก็แย่ลง (ยกเว้นผลิตภัณฑ์นมที่โดดเด่น เนื่องจากการใช้อาหารสัตว์น้อยลงและพันธุกรรมที่ดีขึ้นจะช่วยชดเชยการลดลงอย่างรวดเร็วของฝูงโคนม)ทำให้มีรายได้ลดลง ยกเว้นพืชผักและพืชยืนต้น และเนื้อหมู

    สำหรับผลกระทบเชิงบวกต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก(GHG)พบว่า ปลดปล่อยลดลงน้อยกว่าร้อยละ 30 เนื่องจากสหภาพยุโรปเพิ่มการนำเข้า และทำให้ส่วนที่เหลือของโลกเพิ่มการผลิตสรุปว่าเจ็บมาก แต่กำไรน้อย

     ครับ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ผลทางลบมีมากกว่าผลทางบวก จึงมีการสรุปว่า เจ็บมากแต่กำไรน้อย

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.farm-europe.eu/news/the-impact-of-the-farm-to-fork-and-biodiversity-strategy-lots-of-pain-for-little-gain/