โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
เมื่อนำน้ำชลประทานเข้าสู่พื้นที่ปลูกพืช น้ำจะถูกพืชดูดซับ และบางส่วนก็จะระเหยสู่บรรยากาศ แต่สารที่ละลายอยู่ในน้ำ เช่นเกลือ จะยังคงอยู่ในดิน ปีแล้วปีเล่าเกลือก็ยังคงก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ
แต่ความเค็มสามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น คลื่นพายุ ภัยธรรมชาติ ระดับน้ำใต้ผิวดินที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล อาจทำให้เกลือปนเปื้อนพื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นผลให้น้ำเค็มเข้าสู่แปลงเพาะปลูก
คนกลุ่มเล็ก ๆ แต่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ที่เชื่อว่าปัญหาของดินที่มีความเค็มมากเกินไปสามารถแก้ไขได้ด้วยการทำฟาร์มลอยน้ำ การใช้พืชดัดแปลงพันธุกรรม และการนำพืชชนิดใหม่ๆ มาใช้เป็นอาหาร ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส
Luke Young ซึ่งเป็นนักวิจัย กล่าวว่า พืชที่ใช้น้ำมากหลายชนิด เช่น ข้าว มีวิวัฒนาการที่เกี่ยวกับความเค็มมาเป็นเวลานาน ต้นข้าวจะมีชุดของยีน 8 ตัวที่ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำเค็ม
พืชหลายชนิด เช่นหญ้าทะเลหรือต้นโกงกางก็มียีนเหล่านี้ แต่เฉพาะในข้าวเท่านั้น ที่ยีนดังกล่าวถูก “ปิด” ไม่ให้ทำหน้าที่ ซึ่งYoung และ Rory Hornby วางแผนที่จะใช้ CRISPR เพื่อเปิดใช้งาน
ครับ ด้วยศักยภาพของ CRISPR มีความเป็นไปได้ ที่จะเปิดยีนทั้ง 8 ให้ทำงาน นั่นก็หมายความว่าต้นข้าวจะมีความสามารถในการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตในน้ำเค็ม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.freethink.com/environment/solar-saltwork