บทพิสูจน์การห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ท่ามวิกฤตเศรษฐกิจในศรีลังกาทำให้รุนแรงขึ้น

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

     การห้ามใช้ปุ๋ยเคมีและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู รวมกับการหดตัวของเศรษฐกิจที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโควิด 19 และรายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ลดลง ส่งผลให้ศรีลังกาต้องอยู่ภายใต้ภาวะฉุกเฉิน

    ค่าเงินรูปีของศรีลังกาลดลง อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น และราคาอาหารก็สูงขึ้น ข้อกำหนดฉุกเฉินได้ถูกประกาศใช้ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยสาธารณะเกี่ยวกับการจัดหาสิ่งของจำเป็น ตั้งแต่เที่ยงคืนของวันที่ 30 สิงหาคม 2564

     ตามรายงาน การผลิตชาของศรีลังกา มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาเนื่องจากนโยบายของรัฐบาล ประเทศศรีลังกาผลิตชาได้ประมาณปีละ 300 ล้านกิโลกรัม มีรายได้ประมาณ 1.25 พันล้านดอลลาร์จากการส่งออกชา

     ผลผลิตของพริกไทย อบเชย ผัก และพืชอาหารหลัก เช่น ข้าว คาดว่าจะถูกทำให้ชะงัก เกษตรกรศรีลังกาประท้วงคำสั่งห้ามใช้ปุ๋ยเคมีและสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรู เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 และรัฐบาลอนุญาตให้นำเข้าปุ๋ยบางอย่างสำหรับผู้ใช้บางราย แต่ปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงนโยบาย

     เกษตรอินทรีย์ เป็นระบบเกษตรที่ให้ผลผลิตต่ำ และใช้ที่ดินอย่างเข้มข้น พืชหลายชนิดอาจปรับตัวได้ แต่ไม่สามารถเลี้ยงประชากรที่กำลังเติบโตได้เมื่อพื้นที่เพาะปลูกมีน้อยลง

     ครับ การตัดสินใจที่อยู่บนฐานวิทยาศาสตร์ น่าจะเป็นการตัดสินใจที่มีความเหมาะสมที่สุดของรัฐบาล

     อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://thefederal.com/opinion/sri-lankas-ban-on-chemical-fertilisers-aggravates-food-shortages/