นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯเริ่มพัฒนาวัคซีน mRNA จากพืชที่กินได้

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียริเวอร์ไซด์ (University of California Riverside) ในสหรัฐอเมริกา กำลังดำเนินโครงการใหม่ เพื่อพัฒนาพืชที่กินได้ให้เป็นโรงงานผลิตวัคซีน mRNA หากประสบความสำเร็จ พืชเช่นผักกาดหอมและผักโขม ก็สามารถผลิตวัคซีนและปลูกได้ในสวนหลังบ้านหรือแม้แต่ในแปลงใหญ่

     ปัจจุบันเทคโนโลยี mRNA ถูกใช้เพื่อผลิตวัคซีน COVID-19 ในพืชซึ่งจะทำงานโดยการสอนเซลล์ของมนุษย์ให้รู้จักและปกป้องร่างกายจากโรคติดเชื้อ วัตถุประสงค์ของโครงการใหม่นี้คือเพื่อแสดงให้เห็นว่า DNA ที่มีวัคซีน mRNA สามารถส่งไปยังส่วนของเซลล์พืชที่สามารถทำการเพิ่มจำนวนได้

     นอกจากนี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของพืชในการผลิต mRNA ที่เพียงพอเพื่อแข่งขันกับการฉีดวัคซีนแบบดั้งเดิม ซึ่งหมายถึงความสามารถในการกำหนดปริมาณที่เหมาะสมที่ผลิตโดยพืช

       นักวิทยาศาสตร์มุ่งความสนใจไปที่คลอโรพลาสต์ (chloroplastsหรือพลาสติดซึ่งมีรงควัตถุสีเขียว) ของพืช ซึ่งทราบกันว่าเป็นแหล่งที่ไม่ได้ใช้สำหรับสร้างโมเลกุลที่ต้องการในพืช

       การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าเป็นไปได้ที่คลอโรพลาสต์จะแสดงยีนที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพืชโดยธรรมชาติโดยการส่งสารพันธุกรรมแปลกปลอมเข้าไปในเซลล์พืชที่อยู่ภายในปลอกป้องกัน

       ในการทำเช่นนี้ ทีมวิจัยจะใช้นาโนเทคโนโลยีเพื่อส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในคลอโรพลาสต์และนำอนุภาคนาโนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาใช้ใหม่ เช่น ไวรัสพืช เพื่อส่งยีนไปยังพืช เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมพืชนี้จะทำให้อนุภาคนาโนไปอยู่ที่คลอโรพลาสต์และทำให้ไม่ติดเชื้อต่อพืช

      หากประสบความสำเร็จ วัคซีน mRNA ที่กินได้จากพืชจะลดปัญหาในการขนส่งและการเก็บรักษาที่มักพบในวัคซีนทั่วไปที่ต้องเก็บไว้ภายใต้อุณหภูมิที่เย็นจัด และทำให้ผู้คนเข้าถึงวัคซีนได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล

      ครับ เป็นความพยายามของนักวิจัยที่จะแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็หวังว่าจะประสบความสำเร็จ

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://news.ucr.edu/articles/2021/09/16/grow-and-eat-your-own-vaccines