พัฒนาระบบ CRISPR-Cas ที่เล็กที่สุดสำหรับการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

    วิศวกรชีวภาพ (Bioengineers) ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด(Stanford University) ในสหรัญอเมริกา ได้พัฒนาระบบแก้ไขจีโนม CRISPR ขนาดเล็ก (mini CRISPR genome editing system)อเนกประสงค์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งทำงานเหมือนกับ “มีดพับสวิส(Swiss Army knife) ระดับโมเลกุล” ความก้าวหน้านี้ถูกเผยแพร่ในวารสาร Molecular Cell

     ระบบแก้ไขจีโนม CRISPR ใหม่นี้ได้รับการอธิบายว่า สามารถใช้งานได้หลากหลายและช่วยให้สามารถแก้ไขจีโนมและการแก้ไขเบส (base editing) (เบส คือ โครงสร้างพื้นฐานในรหัสพันธุกรรม) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     Cas MINI ที่ได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมมีขนาดกะทัดรัดและมีขนาดน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับ CRISPR (Cas) ที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ Cas9 และ Cas12a ซึ่งผลจากการทดลองแสดงให้เห็นว่า CasMINI สามารถลบ เปิดใช้งาน และแก้ไขรหัสพันธุกรรมได้ เช่นเดียวกับ Cas12a

      ด้วยขนาดที่เล็กของ Cas MINI จึงทำให้ง่ายต่อการส่งเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์และในร่างกายมนุษย์ ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการรักษาโรคตา การเสื่อมของอวัยวะ การบำบัดด้วยยีน และอื่นๆ

      ครับ เป็นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใช้ในการแก้ไขพันธุกรรม ซึ่งอีกไม่นานคงนำมาปรับใช้กับพืช

       อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1097276521006481?via%3Dihub