วงการปศุสัตว์ในเคนยาระส่ำ ต้นทุนสูง วอนรัฐอนุญาตให้นำเข้าวัสดุดิบพืชดัดแปลงพันธุกรรม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      ผู้ผลิตด้านปศุสัตว์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศเคนยา เรียกร้ขอให้รัฐบาลเคนยาอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมโดยปลอดภาษี เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนส่วนผสมหลักที่ใช้ในการผลิตอาหารสัตว์

      สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์เคนยา (Association of Kenya Feed Manufacturers – AKEFEMA) ซึ่งเป็นองค์กรหลักของประเทศ สำหรับผู้ผลิตอาหารสัตว์ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนและยกเลิกบันทึกในคณะรัฐมนตรีของปี 2555 ที่ห้ามการนำเข้าอาหารดัดแปลงพันธุกรรม

      ทางสมาคมฯ นี้ ระบุว่า การห้ามดังกล่าวนำไปสู่การขาดแคลนส่วนผสมอาหารสัตว์ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของประเทศ

      Martin Kinoti  เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์เคนยา แสดงความกังวลว่า เคนยาไม่ได้ผลิตถั่วเหลือง ทานตะวันหรือฝ้ายในปริมาณที่เหมาะสม และผลพลอยได้ เช่น กากถั่วเหลืองและกากเมล็ดทานตะวัน รวมถึงกากเมล็ดฝ้าย จะถูกใช้เป็นแหล่งโปรตีนหลักในการผลิตอาหารสัตว์

     เขา อ้างว่า การขาดแคลนผลผลิตจากพืชดังกล่าว ส่งผลให้ผลผลอยได้รวมถึง รำข้าวสาลี และจมูกข้าวโพด มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นทุนของผลิตภัณฑ์นม อาหารลูกไก่ และส่วนผสมในระดับต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากในตลาด”

      Joseph Karuri  ประธาน AKAFEMA กล่าวว่า เคนยาต้องพึ่งพาการนำเข้ากากเมล็ดทานตะวันจากประเทศแทนซาเนีย ในขณะที่ถั่วเหลืองนำเข้าจากยูกันดา มาลาวี และแซมเบีย เพื่อตอบสนองความต้องการวัตถุดิบของอุตสาหกรรม อย่าง

      ไรก็ตาม คำสั่งล่าสุดของรัฐบาลแซมเบีย ที่ระงับการส่งออกกากถั่วเหลืองและกากเมล็ดทานตะวันทำให้การขาดแคลนอาหารสัตว์ในเคนยารุนแรงขึ้น เนื่องจากแซมเบียเป็นหนึ่งในตลาดผู้จำหน่ายวัตถุดิบหลักของเคนยา ราคาของถั่วเหลืองที่มีปริมาณเพียงเล็กน้อยจึงขยับขึ้นมากกว่าร้อยละ 30 ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

     ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เตือนว่า ภาคการผลิตอาหารสัตว์ต้องเผชิญกับการล่มสลายที่ใกล้เข้ามาการฟื้นตัวทำได้โดยการยกเลิกการห้ามนำเข้าอาหารดัดแปลงพันธุกรรมที่มีมายาวนานเพื่อให้วัตถุดิบจากประเทศสหรัฐอเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา และประเทศอื่น ๆ ที่ผลิต ถั่วเหลืองจีเอ็ม ข้าวโพดเหลือง และฝ้ายบีที นำเข้าได้อย่างเพียงพอพวกเขากล่าวว่าไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สมเหตุสมผลในการคงไว้ซึ่งการห้าม”สำนักงานความปลอดภัยทางชีวภาพแห่งชาติ (National Biosafety Authority – NBA) ได้ให้คำแนะนำและการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เหล่านี้สำหรับผู้ผลิตอาหารปศุสัตว์”

(ครับ โชคดีที่ประเทศไทยไม่ได้ห้ามการนำเข้าวัตถุดิบที่มาจากข้าวโพดและถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม)

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ Dr. Margaret Karembuที่อีเมล์ mkarembu@isaaa.org.

 

      อ