โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสถุภาษิต
เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มแนวร่วม องค์กรนอกภาครัฐด้านอนุรักษ์และผู้บริโภค หรือเอ็นจีโอ (NGOs) ได้นำเสนอหลักการ 6 ประการ สำหรับการกำกับดูแลอย่างรับผิดชอบของการแก้ไขยีนในการเกษตรและสิ่งแวดล้อมในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารNature Biotechnology
ผู้เขียนระบุว่า การแก้ไขยีนและเทคโนโลยีชีวภาพอื่นๆ มีศักยภาพที่จะแก้ไขข้อกังวลเร่งด่วนเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งและความเสี่ยงก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน
กลุ่มแนวร่วมซึ่งรวมถึงศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ (Center for Science in the Public Interest)สหพันธ์ผู้บริโภคแห่งอเมริกา (Consumer Federation of America)กองทุนป้องกันสิ่งแวดล้อม(Environmental Defense Fund) สหพันธ์สัตว์ป่า (Wildlife Federation)การอนุรักษ์ธรรมชาติ (The Nature Conservancy)และกองทุนสัตว์ป่าโลกแห่งสหรัฐอเมริกา(World Wildlife Fund U.S.)
กลุ่มปนวร่วมเหล่านี้ ได้เสนอหลักการดังกล่าวเพื่อเป็นกรอบระดับสูงในการทำงานสำหรับนวัตกรรมและการกำกับดูแลที่มีความรับผิดชอบ ของเทคโนโลยีการแก้ไขยีน
หลักการ 6 ประการที่นำเสนอได้แก่
- กฎระเบียบของรัฐบาลต้องอยู่บนฐานวิทยาศาสตร์และมีประสิทธิผล
- แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดโดยสมัครใจที่ส่งเสริมการกำกับดูแลด้านกฎระเบียบ
- การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและการส่งมอบผลประโยชน์ทางสังคมที่จับต้องได้
- การมีส่วนร่วมทางสังคมที่แข็งแกร่งและครอบคลุม
- การเข้าถึงเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างครอบคลุม และ
- ความโปร่งใสของผลิตภัณฑ์การแก้ไขยีนในสิ่งแวดล้อม
ผู้เขียน ระบุว่า า “หลักการของเราสามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยแทบทุกเทคโนโลยี เรามุ่งเน้นไปที่การแก้ไขทางพันธุกรรมเนื่องจากวิธีการนี้มีศักยภาพสำหรับการใช้งานที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ ผลิตภัณฑ์ใหม่กำลังได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กฎระเบียบและการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่สู่การค้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกัน และการขาดการกำกับดูแลที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ตั้งใจหรือจำกัดการใช้อย่างรุนแรง”
ครับ ก็คงต้องรอดูต่อไปว่าหลักการต่าง ๆ ที่นำเสนอนี้ จะนำไปสู่การส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากวิธีการแก้ไขยีนหรือไม่
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nature.com/articles/s41587-021-01023-1