ใช้ CRISPR-Cas9 พัฒนาเมล็ดยาสูบให้มีน้ำมันโอเลอิกสูง เพื่อไบโอดีเซล

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      นักวิจัยจาก Hebei University of Engineering และ Sichuan University ในประเทศจีนใช้ CRISPR-Cas9 เพื่อเพิ่มปริมาณกรดโอเลอิกในน้ำมันยาสูบ ความก้าวหน้านี้สามารถช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของไบโอดีเซลที่ได้จากเมล็ดยาสูบ ผลการวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร BMC Plant Biology

     น้ำมันในเมล็ดยาสูบเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับการผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม น้ำมันในเมล็ดยาสูบนี้ไวต่อการเกิดออกซิเดชัน(oxidation – ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากการรวมตัวของออกซิเจนกับสารอื่น) เนื่องจากมีปริมาณกรดไลโนเลอิก (linoleic acid)สูง ยีน FAD2 (Fatty Acid Desaturase 2) จะสลายกรดโอเลอิกให้เป็นกรดไลโนเลอิกในส่วนเฉพาะของเซลล์ ซึ่งการศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า การยับยั้งยีน FAD2 ในยาสูบอาจทำให้ปริมาณกรดโอเลอิกเพิ่มขึ้น

    ดังนั้น นักวิจัยจึงได้ระบุยีน FAD2 ในยาสูบและกำจัดยีน FAD2 ในต้นยาสูบโดยใช้ CRISPR-Cas9 ต้นยาสูบที่ได้แก้ไขยีนดังกล่าว แล้วจะมีปริมาณกรดโอเลอิกในเมล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากร้อยละ11 เป็นมากกว่าร้อยละ 79 ในขณะที่กรดไลโนเลอิกลดลงจากร้อยละ 72 เป็นร้อยละ 7 และองค์ประกอบกรดไขมันของใบไม่ได้รับผลกระทบ

     จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าCRISPR-Cas9 อาจเป็นเครื่องมือที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการวิจัยทางพันธุวิศวกรรมด้านไขมันในเมล็ดยาสูบ

      ครับ เห็นควรให้รัฐบาลสนับสนุนงานวิจัยที่ใช้ CRISPR-Cas9

      อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://bmcplantbiol.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12870-020-02441-0