ฟิลิปปินส์บนเส้นทางที่ถูกต้องว่าด้วยข้อบังคับการแก้ไขจีโนม

  •  
  •  
  •  
  •  

โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต

      การสัมมนาผ่านเว็บครั้งที่ 3 ของโครงการขยายการให้ความรู้ในเชิงรุกที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech Outreach Program) สำหรับฟิลิปปินส์ ปี 2564 จัดโดยองค์การ ISAAA มีผู้เข้าร่วมสัมมนา52 คน ส่วนใหญ่มาจากหน่วยงานกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีชีวภาพของฟิลิปปินส์ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาและข้อบังคับระดับโลกและระดับประเทศล่าสุดในการวิจัยการแก้ไขจีโนม

      การสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ผ่านทาง Zoom โดยร่วมมือกับศูนย์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยด้านการเกษตร (Southeast Asian Regional Center for Graduate Study and Research in Agriculture – SEARCA) และกระทรวงเกษตรต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USDA FAS) ณ กรุงมะนิลา

     ผู้ดำเนินการสัมมนาได้แนะนำ Dr. Nicole Juba ผู้จัดการฝ่ายกำกับดูแลของ Pairwise ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ  ด้านอาหารตั้งอยู่ในมลรัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้ความสามารถในการแก้ไขยีน ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์พืชเชิงลึกและเทคนิคล่าสุดในการเพาะปลูกผักและผลไม้

พูดภึงบริษัทสตาร์ทอัพด้านอาหารที่ว่านี้ ทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากการแก้ปัญหาจุดเล็กๆ แล้วมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดโดยมีการออกแบบให้ธุรกิจสามารถทำซ้ำง่ายและขยายตัวได้เร็ว มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้มีต้นทุนต่ำ สามารถแข่งขันกับธุรกิจในอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่แบบเดิมได้ง่าย

     Juba ได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวทางของกฎระเบียบระดับโลก สำหรับพืชดัดแปลงพันธุกรรม โดยระบุว่า  หลายประเทศที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรม กำลังทำให้เกิดความชัดเจนว่ากฎระเบียบและกฎหมายที่มีอยู่จะนำไปใช้กับการประเมินก่อนวางตลาดของพืชที่ที่เกิดจากการแก้ไขยีนได้อย่างไร

      แม้ว่าจะมีความพยายามในการประสานงานระหว่างประเทศและการสร้างความสอดคล้อง ความแตกต่างในกฎระเบียบของแต่ละประเทศจะคงเหมือนเดิมที่นักพัฒนาเทคโนโลยีจะต้องบริหารจัดการ โชคดีที่ประเทศเหล่านี้สามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ด้านกฎระเบียบของกันและกัน

       Juba ได้เน้นว่า ข้อบังคับควรยึดตามผลิตภัณฑ์และความแปลกใหม่ คุณภาพ และความคุ้นเคยเพื่อสร้างความต่อเนื่องในการปรับปรุงพันธุ์พืช และ เพื่อสนับสนุนสิ่งนี้ หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องเป็นผู้คาดการณ์ (predictive) มากกว่ากำหนด (prescriptive) การประเมินต้องเป็นวิทยาศาสตร์ และทุกคนต้องเข้าถึงกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้รับผลประโยชน์ทั้งหมด

       ด้าน Ms. Ma. Lorelie U. Agbagala จาก Department of Science and Technology (DOST) ของฟิลิปปินส์ และหัวหน้าสำนักเลขาธิการของทั้ง National Committee on Biosafety of the Philippines และ DOST Biosafety Committee นำเสนอสถานะ นโยบาย และศักยภาพของการแก้ไขจีโนมในฟิลิปปินส์ Agbagala ให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโครงการแก้ไขจีโนมที่กำลังดำเนินงานอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ของสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ สถาบันวิจัยข้าวแห่งฟิลิปปินส์ และสถาบันการปรับปรุงพันธุ์พืชแห่งมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ Los Baños

     ที่สำคัญกว่านั้น ยังได้นำเสนอการอภิปรายในปัจจุบันเกี่ยวกับร่างข้อบังคับ สำหรับการแก้ไขยีนในฟิลิปปินส์อีกด้วย โดย Agbagala เน้นย้ำลักษณะเฉพาะของร่าง เริ่มจากนโยบายที่มีพื้นฐานมาจากหลักฐานเชิงประจักรและโปร่งใส ความแน่นอนที่จะควบคุมผลิตภัณฑ์ได้มาจากเทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์ และไม่อยู่ในขอบเขตของกฎระเบียบ GMO และการประเมินความเสี่ยงภายใต้นโยบายที่กำหนดนั้น อยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของพันธุ์พืชใหม่ กรมวิชาการเกษตรจะเป็นผู้นำในการประเมินและติดตามพืชและผลิตภัณฑ์จากพืชที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ รวมถึงนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืชหรือเทคนิคใหม่ในการปรับปรุงพันธุ์พืช

   ระหว่างการอภิปราย Juba ได้แสดงความกระตือรือร้นเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับความคืบหน้าของระบบการกำกับดูแลของฟิลิปปินส์ และกล่าวว่า “ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์กำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางที่ดี รักษามันไว้ และหวังว่าผู้บริโภคจะชื่นชมในสิ่งนั้น”

     Agbagala เสริมว่า “เราหวังว่าในอนาคต เราสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการแก้ไขจีโนม และหวังว่าสิ่งนี้จะเป็นอนาคตที่ดีสำหรับนักวิจัยในการแก้ไขจีโนม (ในฟิลิปปินส์)”

      การสัมมนาผ่านเว็บนี้ ดำเนินรายการโดย Mr. Panfilo de Guzman ผู้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ของ ISAAA SEAsiaCenter กล่าวเปิดงานโดย Mr. Morgan Haas ที่ปรึกษาด้านการเกษตรของ USDA ของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงมะนิลา ขณะที่ Dr. Rhodora Romero-Aldemita ผู้อำนวยการ ISAAA SEAsiaCenter เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

      ยังมีสัมมนาออนไลน์อีก 2 รายการที่จะจัดขึ้นภายใต้โครงการ Biotech Outreach Program ด้านการแก้ไขจีโนมปี 2564 โดยจะมีการสัมมนาผ่านเว็บสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักพัฒนาเทคโนโลยีในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 และสำหรับบุคคลทั่วไปผ่านการสัมมนาผ่านเว็บของ SEARCA SOLVE ในวันที่ 8 กันยายน 2564

  สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ   knowledgecenter@isaaa.org

 ครับ ได้ข่าวว่าประเทศไทยก็กำลังจัดทำร่างข้อกำหนดนี้อยู่เช่นกัน แต่ค่อนข้างเงียบจัง