โดย…ดร.นิพนธ์ เอี่ยมสุภาษิต
โรคใบไหม้ ยังคงเป็นภัยคุกคามหลักต่อการผลิตมันฝรั่งทั่วโลกโดยมีผลผลิตลดลงร้อยละ15-30 เสียค่าใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราโดยเฉลี่ยต่อเฮกแตร์ (6.25 ไร่) เท่ากับ100 ดอลลาร์และราคาเฉลี่ยต่อตันของมันฝรั่งอยู่ที่ 150 ดอลลาร์ ต้นทุนต่อปีที่ใช้ในการควบคุมโรคใบไหม้ในมันฝรั่งคาดว่าจะอยู่ที่ 500 ถึง 800 ล้านดอลลาร์รวมจาก14 ประเทศผู้ปลูกมันฝรั่งในเขตแอฟริกาตอนใต้ของซาฮารา
การปรับปรุงพันธุ์มันฝรั่งให้ต้านทานโรคใบไหม้ ทำได้โดยการถ่ายโอนยีน R ที่ต้านทานของมันฝรั่งพันธุ์ป่าไปยังมันฝรั่งพันธุ์ที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะรวมยีน R หลายยีนจากมันฝรั่งพันธุ์ป่าโดยการผสมพันธุ์แบบดั้งเดิมในขณะที่ยังคงรักษาคุณภาพทั้งหมดของพันธุ์ปลูกชั้นดีและต้องใช้เวลามากถึง 45 ปีในการถ่ายโอนยีน R ที่ต้านทานเพียงยีนเดียวจาก Solanum bulbocastanum ให้กับพันธุ์ปลูกชั้นดีโดยการผสมพันธุ์แบบเดิม
แต่เทคนิคการถ่ายฝากทางพันธุกรรม (พันธุวิศวกรรม) ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาเป็นกลไกการถ่ายฝากยีนโดยตรงไปยังพันธุ์ปลูกชั้นดีที่มีอยู่ที่ยังขาดความต้านทานต่อโรคใบไหม้ ทำให้ได้พันธุ์มันฝรั่งดัดแปรพันธุกรรม 2 กรณี (events) ที่พัฒนามาจากพันธุ์วิกตอเรียที่โดดเด่นของอูกันดาซึ่งได้ถูกปลูกใน3 ท้องที่ และสามารถควบคุมโรคใบไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ในทุกท้องที่ มันฝรั่งดัดแปรพันธุกรรม กรณี 3R Victoria สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราจากการทดลองภาคสนามมากกว่า12 แปลงในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันเกษตรกรใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราเพื่อควบคุมโรคใบไหม้ และพันธุ์มันฝรั่งที่มีความต้านทานบางส่วนซึ่งประสบความสำเร็จอย่างจำกัด สารป้องกันกำจัดเชื้อรารวมถึงสารป้องกันกำจัดเชื้อราที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ และได้รับการรับรองโดยเกษตรอินทรีย์มีผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะระบบนิเวศของดิน
มันฝรั่งดัดแปลงพันธุกรรม กรณี 3R Victoria มีข้อดีคือไม่มีการรบกวนสิ่งแวดล้อมในขณะที่ลดต้นทุนด้านพลังงานและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการควบคุมโรคใบไหม้
ครับ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็น และศักยภาพของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมในการแก้ปัญหาการผลิตพืช ที่ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนด้านพลังงานและทรัพยากรที่จำเป็นในการควบคุมโรค
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.openaccessgovernment.org/late-blight-disease/108180/